ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แก๊สมัสตาร์ด อาวุธที่โหดร้ายที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 1


แก๊สมัสตาร์ด อาวุธที่โหดร้ายที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 1

หนึ่งในกลยุทธ์ที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงคราม นั่นคือการใช้อาวุธเคมีเพื่อฆ่าศัตรู หรือเลวร้ายกว่านั้นก็คือการทำให้บรรดาทหารต้องพิการเหมือนตายทั้งเป็น

ก๊าซมัสตาร์ด ถือเป็นหนึ่งในอาวุธเคมีที่ใช้บั่นทอนกำลังข้าศึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังผลิตได้ง่าย อานุภาพของมันทำให้เกิดแผลพุพองและเจ็บปวดอย่างคาดไม่ถึง

ก๊าซมัสตาร์ดถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1822 แต่มันไม่ได้ถูกใช้มาทำเป็นอาวุธ จนกระทั่งกองทัพเยอรมนีได้นำมันมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับกองทหารอังกฤษและแคนาดา ที่เมืองอีเพรส์ (Ypres) ในเบลเยียม จนเกิดการสูญเสียทหารกว่า 6,000 นาย ซึ่งนั่นเป็นชนวนให้เกิดการใช้อาวุธเคมีเข้าห้ำหั่นกันทั้งเยอรมนีและฝ่ายพันธมิต

สาเหตุที่มันได้ชื่อว่า “มัสตาร์ด” เป็นเพราะสีของมันออกเป็นโทน เหลือง-น้ำตาล และกลิ่นยังคล้ายกับมัสตาร์ด ที่สามารถปล่อยสู่อากาศให้กลายเป็นหมอกไอ กระจายไปในอากาศอย่างรวดเร็ว

ซึ่งทางกองทัพสามารถใช้มันผ่านการทิ้งระเบิด กับระเบิด จรวดมิสไซล์ หรือติดไปกับกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มันถูกใช้อยู่หลายครั้ง รวมไปถึงในสงครามอิรัก ที่ถูกใช้เป็นระเบิดข้างถนน (Roads Bombs)

ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊สมัสตาร์ด จะต้องเผชิญกับอาการระคายเคืองผิวหนังอย่างรุนแรง จนเกิดเป็นแผลพุพองตามตัวขนาดใหญ่ สารเคมีจะทำลายผิวหนังทุกส่วนที่ไปสัมผัสกับมัน แถมมันยังแทรกซึมผ่านเสื้อผ้าได้ ดวงตาอาจบอด และถ้าคุณหายใจเข้าไปล่ะก็ มันจะทำลายระบบทางเดินหายใจของคุณ

สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของก๊าซมัสตาร์ดก็คือ อาการของเหยื่อจะยังแสดงผลทันที ซึ่งบางครั้งอาจนานถึง 24 ชั่วโมง นั่นทำให้คุณรับสารพิษเพิ่มเข้าไปในปริมาณที่สูงได้อย่างไม่รู้ตัว จนกระทั่งมันสายเกินไป และถึงแม้คุณจะตาย แต่ร่างกายของคุณก็จะถูกเผาไหม้พุพองไปมากกว่า 50% และต้องทนอยู่กับความอัปลักษณ์ของตัวเองต่อไป

การมีชีวิตอยู่หลังจากโดนก๊าซมัสตาร์ดอาจแย่ยิ่งกว่าตาย เพราะคุณจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการรักษาที่เป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยความเจ็บปวด นอกจากนี้ คุณยังมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต่อไปอีกด้วย

ด้วยความโหดเหี้ยมของอาวุธเคมี ที่ไม่ใช่มีแค่แก๊สมัสตาร์ด ทำให้หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการทำสนธิสัญญาที่กรุงเจนีวา โดยชาติมหาอำนาจต่างจับมือกันว่าจะไม่นำอาวุธเคมีมาทำสงครามอีก

แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ เพราะยังมีการใช้อาวุธเคมีอยู่บ้าง แต่โชคดีที่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ ก็ไม่เปิดการโจมตีด้วยอาวุธเคมีกับฝ่ายพันธมิตร (อาจเพราะกลัวโดนเล่นงานด้วยอาวุธเคมีกลับ) จึงทำให้สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีการปะทะกันด้วยอาวุธเคมีเหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ 1 เว้นเสียแต่ญี่ปุ่น ที่นำไปใช้โจมตีจีนเท่านั้น

และนี่ก็คือเรื่องราวอันโหดร้ายของแก๊สมัสตาร์ด ที่ฟังชื่อแล้วอาจจะไม่น่ากลัว แต่พอได้อ่านเรื่องราวของมันจบล่ะก็ ทุกคนคงได้แต่ภาวนาไม่ให้มีการนำอาวุธเคมีออกมาใช้กันอีกเลย





รายการบล็อกของฉัน