เพื่อชีวิตที่มีความสุข กฎ 9 ประการเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร
Hostile enemies
การมีชีวิตของเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัวครอบครัว หรือในการทำงานและในสังคม เราต้องเกี่ยวข้องแวดล้อมด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา
พวกเขาล้วนแตกต่างกันในภูมิหลัง นิสัยใจคอ การอบรมเลี้ยงดู การศึกษา ฯลฯ จึงมีทั้งคนที่ชอบเราและที่ไม่ชอบเราแถมยังตั้งตัวเป็นศัตรูกับเราอีกต่างหาก ทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่เคยคิดไม่ชอบ หรือเป็นศัตรูกับพวกเขาแต่อย่างใด และไม่รู้ด้วยว่าเพราะอะไรคนเหล่านั้นจึงทำตัวเป็นศัตรูกับเรา
ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่ควรต้องเสียเวลาคิดว่าเพราะอะไรเขาจึงตั้งตัวเป็นศัตรูกับเรา แล้วก็หาทางแก้ไขตรงสาเหตุนั้น ๆ นับเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ที่จะทำเช่นนั้น เพราะอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจไม่มีเหตุผลอะไรเลยก็ได้ เพียงเพราะเขาไม่ชอบเราเท่านั้นแอง
กฎทางจิตวิทยามีอยู่ว่า ถ้าใครสักคนไม่ชอบคุณโดยไม่มีเหตุผล นั่นไม่ใช่เพราะเขาไม่ชอบคุณ แต่เป็นเพราะเขาไม่ชอบตัวเองมาก ๆ ต่างหาก ในการให้ความนับถือนั้น ถ้าคุณไม่นับถือตัวเองแล้ว คุณจะเหลืออะไรไปให้กับผู้อื่น
เพราะคนที่ไม่ชอบตัวเองจะมีความภูมิใจในตัวเองต่ำ กลไกทางจิตวิทยาที่พิการเช่นนี้ จะกลายเป็นแว่นตาที่เขานำมาสวมเวลามองสิ่งต่าง ๆ สุดท้ายการรับรู้ที่บิดเบือนจะปลูกฝังความเชื่อต่อไปนี้ให้กับเขา นั่นก็คือ
1.เขาเชื่อว่าคุณไม่ชอบเขา ทั้งที่คุณไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่บางทีเขาอาจตีความจากสีหน้า คำพูด หรือการกระทำบางอย่างของคุณผิดไป
2.เขารู้สึกว่าคุณเป็นภัยคุกคาม การขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง จะทำให้เขาอิจฉาริษยา โดยคุณอาจทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาอยากมี แต่ไม่สามารถครอบครองได้ เขาจึงมองคุณในแง่ลบและเกลียดที่คุณมีสิ่งเหล่านั้น เพื่อชดเชยความรู้สึกขาดในจิตใจ
3.เขามองเห็นสิ่งที่เขาไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเองในตัวคุณ นั่นหมายความว่า เขาไม่ชอบคุณเพราะคุณทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง
ถ้าหากมีผู้ที่ไม่แสดงความเป็นมิตรกับคุณ หรืออาจแสดงความเป็นปฏิปักษ์กับคุณก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร หรือไม่ต้องคิดตอบโต้แต่อย่างใด เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อเราหมกมุ่นอยู่กับการกล่าวโทษเราก็จะไม่สนใจหาทางออก ผลที่ตามมาก็คือ เราจะมองไม่เห็นหนทางว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร จึงไม่มีอะไรดีกว่าการเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร
กฎ 9 ประการในการเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตร
กฎนี้มาจากงานเขียนของ ดร.เดวิค เจ.ไลเบอร์แมน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านพฤติกรรมมนุษย์ งานเขียนของท่านผู้นี้ได้รับการแปลและตีพิมพ์มาแล้วมากกว่า 25 ภาษาทั่วโลก จึงน่าจะมั่นใจได้ว่าหากคุณนำกฎนี้ไปใช้ก็คงทำให้เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้สำเร็จอย่างแน่นอน
**การทำให้คู่อริของคุณเลิกสร้างปัญหานั้นทำได้ง่ายกว่าที่คิด ด้วยกฎ 9 ประการที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และให้ผลอย่างรวดเร็ว สามารถใช้ได้จริงกับความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตการทำงาน ในสังคม หรือในชีวิตส่วนตัวก็ตาม ดังกฎต่อไปนี้
กฎข้อที่ 1 สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันเคยมีใครบางคนที่ไม่ชอบหน้าคุณหรือคุณไม่ชอบหน้าเขา ความรู้สึกเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย กฎข้อนี้มุ่งที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายให้หันมาเป็นมิตรกัน เลิกเป็นอริกันเสียทีโดยสมมุติฐานว่าคนเราทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อบกพร่องกันทุกคน จงมองหาส่วนดีของผู้อื่น แม้แต่คนที่คุณคิดว่าเขาเป็นอริกับคุณ เมื่อพบข้อดีของเขา เช่น ความสามารถพิเศษ ความสำเร็จที่ผ่านมาของเขา ฯลฯ วิธีนำกฎข้อนี้ไปใช้ก็คือจงบอกผ่านบุคคลที่ 3 ในสิ่งที่คุณชื่นชมในตัวเขา เมื่อเสียงชื่นชมของคุณไปถึงหูเขา คุณก็แค่นั่งดูเฉย ๆ ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร แล้วคุณจะพบว่าเขาเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับคุณอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนบ้าน หรือใคร ๆ ก็ตาม เพราะใคร ๆ ก็อยากจะรู้สึกว่ามีคนชื่นชมตัวเองกันทั้งนั้น
กฎข้อที่ 2 ทักทายอีกฝ่ายด้วยความกระตือรือร้นอย่างจริงใจ
รอยยิ้มสามารถสร้างปาฏิหาริย์ได้ โดยเฉพาะกับคู่อริของคุณ ทั้งนี้คุณต้องยิ้มให้จริงใจที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นเป็นการส่งสารว่าคุณยินดีที่ได้เจอเขา ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเองและตัวคุณ
นอกจากนี้รอยยิ้มที่อบอุ่นจริงใจจะช่วยบรรเทาความรู้สึกว่าคุณเป็นภัยคุกคาม รวมถึงความคิดที่ว่าคุณไม่ชอบหน้าเขาด้วย
กฎข้อที่ 3 ให้การสนับสนุน
ถ้าคุณรู้ว่าคู่อริของคุณทำเรื่องผิดพลาดบางอย่าง จงให้กำลังใจเขาว่าใคร ๆ ก็ทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น และเขาไม่ควรเอาแต่โทษตัวเอง จงอย่าวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิติเตียนเขาเป็นอันขาด
หรือถ้าเขามีกรณีขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอีกคน (ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ) จงปกป้องเขาถ้าคุณเชื่อว่าเขาเป็นฝ่ายถูก หรือในกรณีที่คุณกับเขามีความเห็นไม่ตรงกันละก็ จงอย่าแสดงว่าคุณฉลาดกว่าเขา เพราะความเป็นอริจะรุนแรงขึ้น แต่ถ้าคุณยอมรับว่าเขามีมุมมองที่น่าสนใจและชาญฉลาด แบบนี้คุณก็จะได้รับทุกอย่างที่ต้องการ เขาจะกลายเป็นมิตรกับคุณอย่างไม่น่าเชื่อ
กฎข้อที่ 4 ยกประโยชน์ให้คู่อริของคุณ
ถ้าคุณคิดว่าอีกฝ่ายจะทำแต่เรื่องเลวร้าย คุณก็จะได้รับแต่สิ่งนั้นจากเขา หรือถ้าเขาทำอะไรที่ดูเหมือนไม่ให้เกียรติคุณ หรือถ้าเขาลุกออกจากห้องประชุมขณะที่คุณกำลังพูดโดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ ฯลฯ จงอย่าถือสาหาความ การที่คุณทำแบบนี้ จะทำให้เขารู้สึกว่าคุณมีความเป็นมิตรกับเขาอย่างที่เขาไม่เคยคิดมาก่อน
กฎข้อที่ 5 บอกให้เขารู้ว่าคุณรู้สึกซาบซึ้งใจ
บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราพูดอะไรดี ๆ กับใครสักคนก็ต่อเมื่อเราต้องการแก้ไขในสิ่งแย่ ๆ ที่ได้ทำลงไปแล้ว แต่คุณจะต้องประหลาดใจว่าความสัมพันธ์ของคุณจะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าคุณแสดงความซาบซึ้งใจต่อเขาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อน เช่น “ขอบคุณครับ ผมซาบซึ้งในสิ่งที่คุณทำให้ผมเป็นอย่างยิ่ง” หรือ “ขอบคุณนะครับที่คอยอยู่เคียงข้างผม” ฯลฯ คำพูดแสดงความซาบซึ้งใจที่เรียบง่ายเพียงไม่กี่คำ จะเป็นการเก็บหอมรอมริบไมตรีจิตเอาไว้ล่วงหน้า จะให้ผลตอบแทนคุณอย่างคุ้มค่าในอนาคต
กฎข้อที่ 6 ศิลปะในการฟัง
การฟังบ้างไม่ฟังบ้างกับใครสักคนที่กำลังพูดกับคุณ แสดงว่าเขาไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญ และไม่ให้เกียรติคุณ ไม่มีใครชอบคนที่ทำแบบนี้กับตน ศิลปะการฟัง คือ การตั้งใจฟังอย่างแท้จริง ถือเป็นการให้เกียรติอีกฝ่าย ดังนั้น การให้ความสนใจกับคู่สนทนาอย่างเต็มที่คือสัญญาณของความนับถือ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนว่าเข้ากันได้ดีแค่ไหน
กฎข้อที่ 7 ให้เขาได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในชีวิตของคุณ
ไม่มีวิธีไหนที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับใครบางคนได้ดีไปกว่าการเปิดโอกาสให้เขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ ได้ลงทุนลงแรงเพื่อคุณ ลองขอคำแนะนำและคำติชมจากคู่อริของคุณ หากคุณคิดว่าเขาพอจะช่วยเหลือคุณได้ การเปิดช่องให้เขาเป็นฝ่ายให้จะทำให้เขารู้สึกดี บรรยากาศของการแบ่งปันช่วยเหลือกันนี้ จะผลักดันให้สัมพันธภาพของทั้งสองมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจงให้อีกฝ่ายทำดีกับคุณ ไม่ใช่คุณทำดีกับเขา
กฎข้อที่ 8 เปิดเผยตัวตนของคุณ
แม้ว่าคุณกับเขาจะไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว แต่จงปล่อยให้เขามีโอกาสก้าวเข้ามาในชีวิตของคุณสักนิดหนึ่ง ลองบอกเรื่องราวส่วนตัว หรือเล่าเรื่องที่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วม คุณอาจพบว่ามันช่วยให้พวกคุณมีบางอย่างที่โยงใยถึงกันมากขึ้น จงลองดูสักครั้ง แล้วคุณจะพบว่ามันช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณให้ดีขึ้นมากแค่ไหน ทั้งในชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัว
กฎข้อที่ 9 จดจ่ออยู่กับเรื่องดีๆ
งานวิจัยจำนวนมากได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของพวกเราทุกคน นั่นคือ คน ๆ หนึ่งสามารถสัมผัสได้โดยสัญชาตญาณว่าเราชอบเขาหรือไม่ ถึงแม้จะยังไม่ได้พูดคุยกันเลยสักคำก็ตาม ดังนั้น เมื่อคุณพูดกับใคร ให้จดจ่อความคิดไปที่คุณลักษณะดี ๆ ของเขา เขาจะสัมผัสได้ว่าคุณชอบเขา แล้วเขาก็จะชอบคุณกลับเอง
**เบนจามิน แฟรงกลิน เคยกล่าวไว้ว่า
“จงค้นหาความดีงามในตัวผู้อื่น แล้วผู้อื่นก็จะค้นหาความดีงามในตัวคุณ”**
หากคุณยึดปฏิบัติกฎ 9 ประการดังกล่าวข้างต้น ย่อมทำให้สามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้อย่างแน่นอน ชีวิตย่อมอบอุ่นมีความสุขและประสบความสำเร็จ ท่ามกลางมวลมิตร
Hostile enemies
พวกเขาล้วนแตกต่างกันในภูมิหลัง นิสัยใจคอ การอบรมเลี้ยงดู การศึกษา ฯลฯ จึงมีทั้งคนที่ชอบเราและที่ไม่ชอบเราแถมยังตั้งตัวเป็นศัตรูกับเราอีกต่างหาก ทั้ง ๆ ที่เราก็ไม่เคยคิดไม่ชอบ หรือเป็นศัตรูกับพวกเขาแต่อย่างใด และไม่รู้ด้วยว่าเพราะอะไรคนเหล่านั้นจึงทำตัวเป็นศัตรูกับเรา
ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่ควรต้องเสียเวลาคิดว่าเพราะอะไรเขาจึงตั้งตัวเป็นศัตรูกับเรา แล้วก็หาทางแก้ไขตรงสาเหตุนั้น ๆ นับเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ที่จะทำเช่นนั้น เพราะอีกฝ่ายหนึ่งก็อาจไม่มีเหตุผลอะไรเลยก็ได้ เพียงเพราะเขาไม่ชอบเราเท่านั้นแอง
กฎทางจิตวิทยามีอยู่ว่า ถ้าใครสักคนไม่ชอบคุณโดยไม่มีเหตุผล นั่นไม่ใช่เพราะเขาไม่ชอบคุณ แต่เป็นเพราะเขาไม่ชอบตัวเองมาก ๆ ต่างหาก ในการให้ความนับถือนั้น ถ้าคุณไม่นับถือตัวเองแล้ว คุณจะเหลืออะไรไปให้กับผู้อื่น
เพราะคนที่ไม่ชอบตัวเองจะมีความภูมิใจในตัวเองต่ำ กลไกทางจิตวิทยาที่พิการเช่นนี้ จะกลายเป็นแว่นตาที่เขานำมาสวมเวลามองสิ่งต่าง ๆ สุดท้ายการรับรู้ที่บิดเบือนจะปลูกฝังความเชื่อต่อไปนี้ให้กับเขา นั่นก็คือ
1.เขาเชื่อว่าคุณไม่ชอบเขา ทั้งที่คุณไม่ได้คิดเช่นนั้น แต่บางทีเขาอาจตีความจากสีหน้า คำพูด หรือการกระทำบางอย่างของคุณผิดไป
2.เขารู้สึกว่าคุณเป็นภัยคุกคาม การขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง จะทำให้เขาอิจฉาริษยา โดยคุณอาจทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาอยากมี แต่ไม่สามารถครอบครองได้ เขาจึงมองคุณในแง่ลบและเกลียดที่คุณมีสิ่งเหล่านั้น เพื่อชดเชยความรู้สึกขาดในจิตใจ
3.เขามองเห็นสิ่งที่เขาไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเองในตัวคุณ นั่นหมายความว่า เขาไม่ชอบคุณเพราะคุณทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เขาไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเอง
ถ้าหากมีผู้ที่ไม่แสดงความเป็นมิตรกับคุณ หรืออาจแสดงความเป็นปฏิปักษ์กับคุณก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร หรือไม่ต้องคิดตอบโต้แต่อย่างใด เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันยิ่งเลวร้ายลงไปอีก เมื่อเราหมกมุ่นอยู่กับการกล่าวโทษเราก็จะไม่สนใจหาทางออก ผลที่ตามมาก็คือ เราจะมองไม่เห็นหนทางว่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร จึงไม่มีอะไรดีกว่าการเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร
กฎ 9 ประการในการเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตร
กฎนี้มาจากงานเขียนของ ดร.เดวิค เจ.ไลเบอร์แมน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านพฤติกรรมมนุษย์ งานเขียนของท่านผู้นี้ได้รับการแปลและตีพิมพ์มาแล้วมากกว่า 25 ภาษาทั่วโลก จึงน่าจะมั่นใจได้ว่าหากคุณนำกฎนี้ไปใช้ก็คงทำให้เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้สำเร็จอย่างแน่นอน
**การทำให้คู่อริของคุณเลิกสร้างปัญหานั้นทำได้ง่ายกว่าที่คิด ด้วยกฎ 9 ประการที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และให้ผลอย่างรวดเร็ว สามารถใช้ได้จริงกับความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตการทำงาน ในสังคม หรือในชีวิตส่วนตัวก็ตาม ดังกฎต่อไปนี้
กฎข้อที่ 1 สร้างความรู้สึกที่ดีต่อกันเคยมีใครบางคนที่ไม่ชอบหน้าคุณหรือคุณไม่ชอบหน้าเขา ความรู้สึกเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่าย กฎข้อนี้มุ่งที่จะเปลี่ยนความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายให้หันมาเป็นมิตรกัน เลิกเป็นอริกันเสียทีโดยสมมุติฐานว่าคนเราทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อบกพร่องกันทุกคน จงมองหาส่วนดีของผู้อื่น แม้แต่คนที่คุณคิดว่าเขาเป็นอริกับคุณ เมื่อพบข้อดีของเขา เช่น ความสามารถพิเศษ ความสำเร็จที่ผ่านมาของเขา ฯลฯ วิธีนำกฎข้อนี้ไปใช้ก็คือจงบอกผ่านบุคคลที่ 3 ในสิ่งที่คุณชื่นชมในตัวเขา เมื่อเสียงชื่นชมของคุณไปถึงหูเขา คุณก็แค่นั่งดูเฉย ๆ ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร แล้วคุณจะพบว่าเขาเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับคุณอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนบ้าน หรือใคร ๆ ก็ตาม เพราะใคร ๆ ก็อยากจะรู้สึกว่ามีคนชื่นชมตัวเองกันทั้งนั้น
กฎข้อที่ 2 ทักทายอีกฝ่ายด้วยความกระตือรือร้นอย่างจริงใจ
รอยยิ้มสามารถสร้างปาฏิหาริย์ได้ โดยเฉพาะกับคู่อริของคุณ ทั้งนี้คุณต้องยิ้มให้จริงใจที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นเป็นการส่งสารว่าคุณยินดีที่ได้เจอเขา ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเองและตัวคุณ
นอกจากนี้รอยยิ้มที่อบอุ่นจริงใจจะช่วยบรรเทาความรู้สึกว่าคุณเป็นภัยคุกคาม รวมถึงความคิดที่ว่าคุณไม่ชอบหน้าเขาด้วย
กฎข้อที่ 3 ให้การสนับสนุน
ถ้าคุณรู้ว่าคู่อริของคุณทำเรื่องผิดพลาดบางอย่าง จงให้กำลังใจเขาว่าใคร ๆ ก็ทำผิดพลาดได้ทั้งนั้น และเขาไม่ควรเอาแต่โทษตัวเอง จงอย่าวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิติเตียนเขาเป็นอันขาด
หรือถ้าเขามีกรณีขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานอีกคน (ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ) จงปกป้องเขาถ้าคุณเชื่อว่าเขาเป็นฝ่ายถูก หรือในกรณีที่คุณกับเขามีความเห็นไม่ตรงกันละก็ จงอย่าแสดงว่าคุณฉลาดกว่าเขา เพราะความเป็นอริจะรุนแรงขึ้น แต่ถ้าคุณยอมรับว่าเขามีมุมมองที่น่าสนใจและชาญฉลาด แบบนี้คุณก็จะได้รับทุกอย่างที่ต้องการ เขาจะกลายเป็นมิตรกับคุณอย่างไม่น่าเชื่อ
กฎข้อที่ 4 ยกประโยชน์ให้คู่อริของคุณ
ถ้าคุณคิดว่าอีกฝ่ายจะทำแต่เรื่องเลวร้าย คุณก็จะได้รับแต่สิ่งนั้นจากเขา หรือถ้าเขาทำอะไรที่ดูเหมือนไม่ให้เกียรติคุณ หรือถ้าเขาลุกออกจากห้องประชุมขณะที่คุณกำลังพูดโดยไม่มีคำอธิบายใด ๆ ฯลฯ จงอย่าถือสาหาความ การที่คุณทำแบบนี้ จะทำให้เขารู้สึกว่าคุณมีความเป็นมิตรกับเขาอย่างที่เขาไม่เคยคิดมาก่อน
บ่อยครั้งแค่ไหนที่เราพูดอะไรดี ๆ กับใครสักคนก็ต่อเมื่อเราต้องการแก้ไขในสิ่งแย่ ๆ ที่ได้ทำลงไปแล้ว แต่คุณจะต้องประหลาดใจว่าความสัมพันธ์ของคุณจะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าคุณแสดงความซาบซึ้งใจต่อเขาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาก่อน เช่น “ขอบคุณครับ ผมซาบซึ้งในสิ่งที่คุณทำให้ผมเป็นอย่างยิ่ง” หรือ “ขอบคุณนะครับที่คอยอยู่เคียงข้างผม” ฯลฯ คำพูดแสดงความซาบซึ้งใจที่เรียบง่ายเพียงไม่กี่คำ จะเป็นการเก็บหอมรอมริบไมตรีจิตเอาไว้ล่วงหน้า จะให้ผลตอบแทนคุณอย่างคุ้มค่าในอนาคต
กฎข้อที่ 6 ศิลปะในการฟัง
การฟังบ้างไม่ฟังบ้างกับใครสักคนที่กำลังพูดกับคุณ แสดงว่าเขาไม่สนใจ ไม่เห็นความสำคัญ และไม่ให้เกียรติคุณ ไม่มีใครชอบคนที่ทำแบบนี้กับตน ศิลปะการฟัง คือ การตั้งใจฟังอย่างแท้จริง ถือเป็นการให้เกียรติอีกฝ่าย ดังนั้น การให้ความสนใจกับคู่สนทนาอย่างเต็มที่คือสัญญาณของความนับถือ ที่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนว่าเข้ากันได้ดีแค่ไหน
กฎข้อที่ 7 ให้เขาได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในชีวิตของคุณ
ไม่มีวิธีไหนที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับใครบางคนได้ดีไปกว่าการเปิดโอกาสให้เขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ ได้ลงทุนลงแรงเพื่อคุณ ลองขอคำแนะนำและคำติชมจากคู่อริของคุณ หากคุณคิดว่าเขาพอจะช่วยเหลือคุณได้ การเปิดช่องให้เขาเป็นฝ่ายให้จะทำให้เขารู้สึกดี บรรยากาศของการแบ่งปันช่วยเหลือกันนี้ จะผลักดันให้สัมพันธภาพของทั้งสองมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจงให้อีกฝ่ายทำดีกับคุณ ไม่ใช่คุณทำดีกับเขา
กฎข้อที่ 8 เปิดเผยตัวตนของคุณ
แม้ว่าคุณกับเขาจะไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัว แต่จงปล่อยให้เขามีโอกาสก้าวเข้ามาในชีวิตของคุณสักนิดหนึ่ง ลองบอกเรื่องราวส่วนตัว หรือเล่าเรื่องที่ก่อให้เกิดอารมณ์ร่วม คุณอาจพบว่ามันช่วยให้พวกคุณมีบางอย่างที่โยงใยถึงกันมากขึ้น จงลองดูสักครั้ง แล้วคุณจะพบว่ามันช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณให้ดีขึ้นมากแค่ไหน ทั้งในชีวิตการงานและชีวิตส่วนตัว
กฎข้อที่ 9 จดจ่ออยู่กับเรื่องดีๆ
งานวิจัยจำนวนมากได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของพวกเราทุกคน นั่นคือ คน ๆ หนึ่งสามารถสัมผัสได้โดยสัญชาตญาณว่าเราชอบเขาหรือไม่ ถึงแม้จะยังไม่ได้พูดคุยกันเลยสักคำก็ตาม ดังนั้น เมื่อคุณพูดกับใคร ให้จดจ่อความคิดไปที่คุณลักษณะดี ๆ ของเขา เขาจะสัมผัสได้ว่าคุณชอบเขา แล้วเขาก็จะชอบคุณกลับเอง
**เบนจามิน แฟรงกลิน เคยกล่าวไว้ว่า
“จงค้นหาความดีงามในตัวผู้อื่น แล้วผู้อื่นก็จะค้นหาความดีงามในตัวคุณ”**
หากคุณยึดปฏิบัติกฎ 9 ประการดังกล่าวข้างต้น ย่อมทำให้สามารถเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรได้อย่างแน่นอน ชีวิตย่อมอบอุ่นมีความสุขและประสบความสำเร็จ ท่ามกลางมวลมิตร