เบียร์กำเนิดในจีนเมื่อ 9,000 ปีก่อน
นักโบราณคดีชีวเคมีโมเลกุล แพทริก แม็คโกเวน จากมหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟีย เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา เจ้าเดิมกับคนที่ตรวจหาไวน์จากโลกโบราณนั่นแหละ คราวนี้ (กรกฎาคม 2005) เขาค้นพบสูตรเบียร์เก่าแก่9,000ปีจากคราบในก้นไห ซึ่งเป็นศิลปะวัตถุที่ขุดค้นพบในเมืองเจียหู มณฑลเหอหนัน ประเทศจีนไหโบราณแห่งเจียหู
นักโบราณคดีชีวเคมีโมเลกุล แพทริก แม็คโกเวน จากมหาวิทยาลัยฟิลาเดเฟีย เพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา เจ้าเดิมกับคนที่ตรวจหาไวน์จากโลกโบราณนั่นแหละ คราวนี้ (กรกฎาคม 2005) เขาค้นพบสูตรเบียร์เก่าแก่9,000ปีจากคราบในก้นไห ซึ่งเป็นศิลปะวัตถุที่ขุดค้นพบในเมืองเจียหู มณฑลเหอหนัน ประเทศจีนไหโบราณแห่งเจียหู
เขาระบุว่า แม้จะไม่ตรวจพบแอลกอฮอล์ในก้นไหนั้นด้วย เพราะอาจจะระเหิดหายไปหมดแล้ว แต่เขาก็พบส่วนประกอบที่เคยเป็นของเหลวในไหว่าคือ ข้าว น้ำผึ้ง องุ่น และลูกซานจา และอธิบายเพิ่มเติมว่า “น้ำผลไม้และน้ำผึ้งหมักกันในอุณหภูมิปกติสามารถกลายเป็นแอลกอฮอล์ได้ง่าย ซึ่งนี่ก็เป็นข้ออธิบายง่ายๆ ว่าเครื่องดื่มที่เคยอยู่ในไหนี้ย่อมเป็นเบียร์อย่างแน่นอน”
และเพื่อยืนยันว่าข้อสันนิษฐานถูกต้อง เขาเลยร่วมมือกับเจ้าของเบียร์คราฟท์ชื่อดัง “Dogfish Head” ทำการผลิตเบียร์ตามสูตรโบราณ 9,000 ปีนี้ขึ้นมาจริงๆ
และไอเดียนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเขาเคยประสบความสำเร็จมาแล้วจากการทำเบียร์ตามสูตรที่ค้นพบในหลุมฝังศพของกษัตริย์ไมดาส ที่มีอายุกว่า 2,700 ปี โดยตั้งชื่อว่า “Midas Touch” ตามชื่อกษัตริย์ไมดาสผู้จับอะไรก็กลายเป็นทอง และชื่อนี้คงเป็นมงคล(จริงๆ แล้วรสชาติต่างหาก) ทำให้เบียร์ไมดาส ทัช ได้รับรางวัลจากการประกวดในเทศกาลเบียร์ต่างๆ
และไอเดียนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเขาเคยประสบความสำเร็จมาแล้วจากการทำเบียร์ตามสูตรที่ค้นพบในหลุมฝังศพของกษัตริย์ไมดาส ที่มีอายุกว่า 2,700 ปี โดยตั้งชื่อว่า “Midas Touch” ตามชื่อกษัตริย์ไมดาสผู้จับอะไรก็กลายเป็นทอง และชื่อนี้คงเป็นมงคล(จริงๆ แล้วรสชาติต่างหาก) ทำให้เบียร์ไมดาส ทัช ได้รับรางวัลจากการประกวดในเทศกาลเบียร์ต่างๆ
เมื่อถูกชวนให้มาผลิตเบียร์ย้อนรอยประวัติศาสตร์อีกครั้ง ทีมงาน “Dogfish Head” จึงไม่ปฏิเสธการเป็นส่วนหนึ่งในการชุบชีวิตเครื่องดื่มโบราณนี้ โดยตั้งชื่อว่า "Hence Chateau Jiahu”
และเพื่อให้สูตรนี้สมบูรณ์ แม็คโกเวน จึงนำเข้า
“แป้งหัวเชื้อหมักเหล้าข้าวของจีน” มาเป็นส่วนผสมด้วย เพื่อมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการหมักให้ใกล้เคียงกับของแท้มากที่สุด แถมยังเพิ่มดอกเก็กฮวยเข้ามาช่วยเสริมความหอมด้วย ส่วนไฟในการต้มก็เพิ่มให้แรงกว่าปกติ เพราะในจีนยุคโบราณใช้สุมฟืนเผาจ่อที่ก้นหม้อดินเผาโดยตรง
นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มบาร์เล่ลงไปด้วย เพราะต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมการผลิตเบียร์ขอสหรัฐอเมริกา
Hence Chateau Jiahu
Hence Chateau Jiahu
เบียร์ชาโตว์เจียหูที่ผลิตได้มีสีเหลืองทอง ฟองสีขาวนวล มีผดพรายอากาศในเนื้อน้ำคล้ายแชมเปญ เนื้อเบียร์มีมวลแน่นประหนึ่งสามารถกัดกินได้ แต่จากกรรมวิธีการผลิต ส่วนผสม และรสชาติจะเรียกว่าเบียร์เต็มปากก็ไม่ได้ จะเป็นน้ำผลไม้ก็ไม่เชิง หรือจะเป็นไวน์หรือน้ำไซเดอร์ก็ไม่เหมือนซะทีเดียว
ทางทีม “Dogfish Head” เลยเรียกเบียร์ชาโตว์เจียหูนี้ว่า “เครื่องดื่มผสม” ซึ่งนายคาลาจิโอเน่ บิ๊กบอสของ “Dogfish Head” เสริมว่า “ถ้าจะให้เทียบก็น่าจะคล้ายเบลเยียมเอล (Belgian-style ale)
รสชาติจริงๆ จะเป็นไงไม่รู้ เพราะไม่เคยชิม และถ้าอยากชิมจริงก็ต้องบินไปนิวยอร์กหรือที่เดลาแวร์ ซึ่งก็คงต้องงดเบียร์ยี่ห้อสัตว์ต่างๆ ของไทยหลายปีกว่าจะเก็บเงินไปดินแดนลุงแซมได้
รสชาติจริงๆ จะเป็นไงไม่รู้ เพราะไม่เคยชิม และถ้าอยากชิมจริงก็ต้องบินไปนิวยอร์กหรือที่เดลาแวร์ ซึ่งก็คงต้องงดเบียร์ยี่ห้อสัตว์ต่างๆ ของไทยหลายปีกว่าจะเก็บเงินไปดินแดนลุงแซมได้
แต่เอาเป็นว่าเมื่อผลิตออกมาก็ได้รับเสียงเยินยอไปทั่ว และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ “เบียร์ชาโตว์เจียหู” เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสูตร 9,000 ปีที่ตรวจพบที่ก้นไหนั้นเป็นเบียร์จริงๆ และเป็นเบียร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและยืนยันว่าจีนเป็นบ้านเกิดของเบียร์ด้วย!