วิบากกรรมของกษัตริย์ไมดาส
กษัตริย์ไมดาสอาจเป็นคน “มือขึ้น” เพราะได้รับพรให้ “จับอะไรก็(เป็นเงิน)เป็นทองไปหมด” แต่นั่นกลายเป็นทุกข์ลาภของพระองค์ เช่นเดียวกับการต้องมี "หูขนาดใหญ่" เพื่อให้ฟังดนตรีเพราะขึ้นกษัตริย์ไมดาสเป็นเป็นที่รู้จักกันดีมากในฐานะตัวละครเอกตัวหนึ่งในตำนานโบราณ กวีโรมันนามว่า “โอวิด” (Ovid) นำเรื่องราวของกษัตริย์องค์นี้มาบรรจุไว้ในบทละครเรื่อง “การแปลงร่าง” (Metamorphoses) ของเขา โดยแต่งให้ไมดาสเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรไพรเกีย (Phrygia) โอรสของกษัตริย์กอร์ดีอุสและราชินีซีบิล
ตำนานเรื่องหนึ่งกล่าวว่า ระหว่างการเดินทางครั้งหนึ่ง ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ พลัดหลงกับซิลีนุส (Silenus) เซเทอร์ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งเมามายเป็นปกติอยู่แล้ว จนชาวนาคนหนึ่งนำเขาไปพบกษัตริย์ไมดาสซึ่งเพิ่งหันมานับถือลัทธิไดโอนีซุส กษัตริย์จำอาจารย์ของเทพเจ้าลัทธิได้ จึงสั่งให้เลี้ยงต้อนรับด้วยอาหารสำรับใหญ่กว่า 10 รายการ
เมื่อไดโอนีซุสได้พบครูอีกครั้งก็ดีใจและเอ่ยปากว่าจะให้พรใดๆ ก็ได้ตามที่ไมดาสปรารถนา ซึ่งพรที่เขาขอก็คือให้ทุกสิ่งที่เขาสัมผัสกลายเป็นทองคำ
ไดโอนีซุสประทานพรให้กษัตริย์ไมดาสสัมผัสทุกอย่างเป็นทองหลังได้รับพรแล้ว กษัตริย์ไมดาสก็มีความสุขมากกับการทำให้ดอกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ก้อนหิน ฯลฯ กลายเป็นทองคำสุกอร่ามละลานตา
ทว่าพระองค์ก็ตระหนักว่าถึงแวดล้อมด้วยความแวววาวสดใสของทองคำก็จริง แต่กลับกลายเป็นพระองค์ไม่อาจเสวยสิ่งใดได้เลย แม้แต่น้ำก็กลายเป็นทองคำเหลวที่ไม่อาจดับกระหายได้เลยแม้แต่น้อย
เมื่อหิวกระหายแทบขาดใจ กษัตริย์ไมดาสก็วิงวอนขอให้เทพแห่งไวน์ยกเลิกพร “สัมผัสทองคำ” (the golden touch) ที่กลับกลายเป็นคำสาปนั้นเสีย ไดโอนีซุสจึงสั่งให้เขาไปล้างมือในแม่น้ำพักโทลุส (Pactolus River) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตประเทศตุรกีในปัจจุบันวิบากกรรมยังไม่จบเพียงเท่านี้
กษัตริย์ไมดาสตัดสินการประกวดดนตรีระหว่างอะพอลโลกับแพนไมดาสมาดูการแข่งขันและทึ่งในฝีมือการบรรเลงของแพน แต่ปรากฏว่าสุริยเทพบรรเลงจนเป็นที่ประจักษ์และเป็นฝ่ายชนะ ทุกคนเห็นด้วยกับผลการตัดสิน มีไมดาสคัดค้านอยู่ผู้เดียว อะพอลโลซึ่งโกรธในความโง่เขลาและไม่ซาบซึ้งในรสของดนตรี
ทั้งยังพูดจาท้าทายเทพเช่นพระองค์ จึงเอื้อมมือไปจับศีรษะของไมดาสส่งผลให้หูของกษัตริย์ใหญ่ขึ้นๆ จนเปลี่ยนเป็นหูลาด้วยความอับอาย กษัตริย์ไมดาสจึงสวมหมวกอ่อนแบบชาวไพรเกียปกปิดหูลาไว้
ตลอดเวลา มีเพียงนายกัลบก (ช่างตัดผม)
เท่านั้นที่ทราบความจริงข้อนี้ เขารับปากว่าจะเก็บไว้เป็นความลับ กระนั้นเขาก็อึดอัดมากจนต้องขุดหลุมแล้วกระซิบเข้าไปว่าหูของกษัตริย์ไมดาสเป็นหูลา แล้วเขาก็รู้สึกโล่งอกก่อนจะกลบหลุมไว้แล้วกลับบ้านราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
รูปปั้นกษัตริย์ไมดาสหูลา ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
ต่อมาปรากฏว่าจุดที่นายกัลบกระบายความอึดอัดใจไว้นั้นมีต้นกกเกิดขึ้นและกระจายคำพูดนั้นออกไปตามสายลม จนในที่สุดทุกคนก็รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับกษัตริย์ของพวกตน
ต่อมาปรากฏว่าจุดที่นายกัลบกระบายความอึดอัดใจไว้นั้นมีต้นกกเกิดขึ้นและกระจายคำพูดนั้นออกไปตามสายลม จนในที่สุดทุกคนก็รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับกษัตริย์ของพวกตน
วิบากกรรมของกษัตริย์ไมดาสเป็นตำนานคลาสสิกเรื่องหนึ่งที่เตือนเราว่า “ระวังพรที่เจ้าขอ” และมีคติธรรมว่าด้วยการให้คุณค่าต่อสิ่งสำคัญที่แท้จริงของชีวิต ตลอดจนให้เรามีสติ มิให้ตกเป็นทาสของความปรารถนาของตนเอง