เหมืองนรก! ‘Magnitogorsk’ เหมืองเหล็กสุดยิ่งใหญ่ของอดีตสหภาพโซเวียต ที่กลายเป็นเมืองที่มีสารพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก
“Magnitogorsk” เคยเป็นดินแดนแห่งความว่างเปล่าที่ผู้คนส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม แต่หลังจากการค้นพบว่าพื้นที่บริเวณนี้มีปริมาณแร่เหล็กเป็นจำนวนมากมันก็ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นเหมืองเหล็กและเมืองแห่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของสหภาพโซเวียต และกล่าวได้ว่าหากไร้เมืองแห่งนี้ก็อาจไม่มีรัสเซียที่เรารู้จักกันก็ว่าได้
เมือง “Magnitogorsk” ตั้งอยู่ใกล้กับเทือกเขาอูราล ห่างจากชายแดนประเทศคาซัคสถาน 140 กิโลเมตร จัดเป็นเขตปกครองตนเองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรัสเซีย นักวิทยาศาสตร์พบว่าบริเวณภูเขาใกล้เมืองมีปริมาณเหล็กในดินมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันเปรียบดั่งขุมทรัพย์ในดินที่ทาง “โจเซฟ สตาลิน” ผู้นำสหภาพโซเวียตสมัยนั้นวางแผนที่จะเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมให้กลายมาเป็นประเทศที่ส่งออกแร่เหล็ก ด้วยการเปลี่ยนโซเวียตให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วนภายในเวลา 5 ปี
กล่าวกันว่าในช่วงแรกของก่อสร้างเมืองนี้ คนงานหลายพันคนต้องอาศัยหลับนอนอยู่ภายในเต็นท์ ท่ามกลางอุณหภูมิสุดโหด -30 องศา ซึ่งมันได้ส่งผลคนงานนับหมื่นคนต้องเสียชีวิตไปเพราะความหนาวเย็นและอดอยากในช่วงแรกของการก่อสร้าง
ความก้าวหน้าของเมืองนี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วบนซากของคนงานนับหมื่นที่ต้องเสียชีวิตไป ในปี 1932 เหมืองเหล็กได้เริ่มดำเนินงานผลิตเหล็กคุณภาพสูง เพื่อนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ถูกนำมาสร้างเป็นรถถัง อาวุธปืนและลูกกระสุน จำนวนมากตลอดหลายปี อย่างไม่หยุดหย่อน เหล็กจำนวนกว่า 15 ล้านตันถูกส่งไปยังโรงงานผลิตอาวุธเพื่อนำมาใช้ในสงคราม
ทว่าความสามารถในการผลิตเหล็กจากเมือง “Magnitogorsk” จะไม่เป็นรองที่ใด แต่นั้นก็ทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นเมืองแห่งมลพิษที่ปนเปื้อนทั้งในดิน น้ำ และอากาศ ว่ากันว่าจะมีเด็กเพียง 1 ใน 20 คนเท่านั้นที่เกิดมาโดยมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีปัญหาสุขภาพหรือปราศจากโรคร้ายต่างๆ ซึ่งความก้าวหน้าและพาไปประเทศไปสู่ความยิ่งใหญ่ได้เปลี่ยนเมืองแห่งนี้ให้เป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
แม้ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามเมืองแห่งนี้ได้มีกำลังผลิตลดลงจากแต่ก่อนและถูกควบคุมการปล่อยปริมาณสารพิษในอากาศในปริมาณลงลดกว่าเดิมถึง 60 เปอร์เซ็นต์แต่มันก็ยังถือเป็นตัวเลขที่มากสำหรับประชาชนกว่าแสนรายที่อาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้