ฝรั่งอ้าง “เชลยสยาม” ยอมตกเป็นเชลยของพม่าดีกว่ากลับมาเป็นไพร่รับใช้นายที่เมืองตัวเอง
ภาพวาดแรงงานชนพื้นเมืองอุษาคเนย์ในยุคศตวรรษที่ 19 โดย Eugène Burnand
“…ตามความคิดของคนสยามการส่งทัพไปทางหัวเมืองชายแดนพม่าเรียกกันว่า ‘ยกทัพไปจับพม่า’ ซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าการทำสงครามของสยามนั้นมีความหมายอย่างไร เชลยที่จับมาได้ก็เช่นเดียวกับเราปฏิบัติต่อนักโทษ คือจะถูกจับใส่กรงเหล็กไว้แล้วตั้งให้ประชาชนเข้ามาดูได้ หรือไม่ก็จะถูกใช้งานโยธาต่างๆ เช่น ในการสร้างป้อมที่ปากน้ำและปากลัด หรือการซ่อมแซมบูรณะป้อมปราการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นก็ใช้เชลยพม่าเหล่านี้ช่วย หรือหากว่ามีงานสาธารณะแห่งใดที่ขาดแรงงานเช่นในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพของพระเจ้าอยู่หัวองค์ที่แล้วเป็นต้น มักเกณฑ์พวกเชลยพม่ามาช่วยงาน
พวกเชลยพม่าพวกนี้ทำงานได้ดีมาก และเป็นประโยชน์กว่าคนงานชาวสยามซึ่งเกียจคร้าน ดังนั้นนับว่าเชลยพม่ามีประโยชน์กว่าเชลยสยามที่เราจับได้มากนัก นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้ยินคนกล่าวว่าถ้าหากให้เชลยทั้งสองเลือกตามใจชอบว่าจะกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนหรือไม่ ก็จะปรากฏว่าพวกเชลยสยามที่เราจับได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ถูกพม่าจับได้มาแต่ก่อนจะเลือกอยู่ที่เดิมไม่กลับกรุงสยาม เพราะอยู่ที่นั่นต่างก็ทำงานหาเลี้ยงตนเองได้ แต่ถ้าหากกลับมาอยู่กรุงสยามแล้วต้องทำงานให้แก่เจ้านายหรือให้แก่พระเจ้าอยู่หัว แต่ในทำนองตรงกันข้าม เชลยพม่าที่ถูกพวกคนสยามจับมาได้จะอยากกลับไปอยู่กับรัฐบาลอังกฤษด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน…”
ภาพเชลยศึกชาวสยาม |
-เฮนรี เบอร์นีย์ ทูตอังกฤษที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักสยาม กล่าวในจดหมายถึง อาร์. ฟูลเลอร์ตัน เอสไควร์ ผู้ว่าราชการ ฯลฯ เกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (ปีนัง) ลงวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1825 (พ.ศ. 2368) จากหนังสือ “เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ เล่ม 1” จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร, สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ แปล