พบก้อนนิ่วเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีอายุกว่า 12,000 ปี ในซูดาน
Centro Studi Sudanesi e Sub-Sahariani - Treviso/Università di Padova
ที่มา Live Science
นักวิจัยชาวอิตาลีและอังกฤษได้ทำการขุดสำรวจสุสานในซูดาน ก่อนพบกับก้อนนิ่วที่เชื่อว่า น่าจะเป็นก้อนนิ่วที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา ช่วยยืนยันได้ว่า โรคชนิดนี้สร้างความเจ็บปวดให้กับมนุษย์มาตั้งแต่เมื่อกว่า 12,000 ปี ก่อน
ที่มา Live Science
นักวิจัยชาวอิตาลีและอังกฤษได้ทำการขุดสำรวจสุสานในซูดาน ก่อนพบกับก้อนนิ่วที่เชื่อว่า น่าจะเป็นก้อนนิ่วที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา ช่วยยืนยันได้ว่า โรคชนิดนี้สร้างความเจ็บปวดให้กับมนุษย์มาตั้งแต่เมื่อกว่า 12,000 ปี ก่อน
ก้อนนิ่วที่พบมีหลายก้อน มีขนาดใหญ่พอๆ กับลูกวอลนัต ถูกพบตั้งแต่ปี 2013 บริเวณกระดูเชิงกรานของโครงกระดูกมนุษย์เพศชายซึ่งถูกฝังอยู่ในสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์แห่งอัลคีเดย์ (Al Khiday) ซึ่งมีอายุกว่า 12,000 ปี
(ในพื้นที่ดังกล่าวมีสุสานที่มีอายุต่างกันไป แต่จุดที่พบก้อนนิ่วดังกล่าวมาจากสุสานที่เก่าแก่ที่สุด) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองออมดูร์มาน (Omdurman (Khartoum)) ห่างออกไปเป็นระยะทาง 12 ไมล์
ซากโครงกระดูกดังกล่าวถูกพบโดยทีมนักวิจัยนำโดย โดนาเตลลา ยูซาย (Donatella Usai) และ ซานโดร ซัลวาตอรี (Sandro Salvatori)
แห่งศูนย์ซูดานและซับ-ซาฮาราศึกษา ในเมืองเตรวิโซ ประเทศอิตาลี ซึ่งทำการสำรวจสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ราว 900 ตารางไมล์
เบื้องต้น นักวิจัยคิดว่า ก้อนหินที่พบเป็นเพียงหินธรรมดาทั่วไป แต่เมื่อนำไปตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบจึงพบว่ามันเป็นก้อนนิ่วที่พัฒนาขึ้นมาจากต่อมลูกหมาก และถือเป็นก้อนนิ่วต่อมลูกหมากที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบมา ส่วนก่อนหน้านี้เคยพบก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่อายุถึง 8,500 ปีมาแล้ว
“การค้นพบของเราครั้งนี้ช่วยยืนยันได้ว่า โรคดังกล่าวไม่ใช่โรคที่มากับการเข้าสู่ยุคใหม่อีกต่อไป มันยังกระทบต่อคนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วย ซึ่งพวกเขามีวิถีชีวิตและอาหารที่ต่างไปจากพวกเราเป็นอย่างมาก” ยูซายกล่าว