อัศวินโต๊ะกลมเรื่องจริงที่ไม่อิงนิยาย
กล่าวกันว่าอัศวินโต๊ะกลมเป็นนวนิยายอิงตำนานทางการเมือง ซึ่่งแต่งโดย เซอร์จอฟฟรี มอนเมาท์ ผู้มีชีวิตอยู่ในราวศตวรรษที่ 12 หรือยุคกลาง โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับระบบกฏหมายในยุคกลาง หรือระบบฟิลว์ดัล หรือระบบสวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์ ขุนนาง อัศวิน แต่ได้สอดแทรกความคาดหวังในจินตนาการของผู้เขียนที่แต่งให้มีอาณาจักร ๆ หนึ่งนามว่า "คาเมล็อต" อันเป็นประเทศที่ที่ระบบเจ้าขุนมูลนายถูกใช้อย่างเที่ยงธรรม มีกษัตริย์ผู้ทรงธรรมนามว่า "อาเธอร์" ผู้ซึ่งมีสภาเป็นโต๊ะกลม อันความหมายว่า ไม่ว่าจะนั่งอยู่ฟากใดของโต๊ะก็จะมีความเท่าเทียมกันหมด เพราะวงกลมไม่มีมุมเหมือนโต๊ะเหลี่ยมผืนผ้า ที่ผู้นั่งหัวโต๊ะก็คือประธาน มีพ่อมดเมอร์ลิน เป็นชายชราหนวดเครายาวสีขาว สวมหมวกยาว เป็นผู้ให้คำปรึษาแก่กษัตริย์ กล่าวกันว่า ถ้าความเป็นไปได้ที่กษัตริย์อาเธอร์จะมีตัวตนจริงจนจอฟฟรีเอาไปแต่งเป็นนวนิยายนั้น อาเธอร์มีแนวโน้มว่าเขาจะเป็นลูกครึ่ง ชาวบริเตนเชื้อสายเคลท์ กับโรมัน
โดยเนื้อเรื่องมีการสอดแทรกการผจญภัยของเหล่าบรรดาอัศวินต่าง ๆ ของอาเธอร์ ตลอดจนเรื่องราวรัก ๆ ใคร่ ๆ อย่างเลดี้กวินิเวียร์ผู้รูปงาม ด้วยผมทองดังแสงตะวันยาวหยักศกเป็นคลื่นไปจนถึงหัวเข่า รูปร่างเพรียวระหง เข้ามาเกี่ยวข้อง
เรื่องราวของอัศวินโต๊ะกลมนั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นชื่อมากที่ประเทศอังกฤษ จนหลายสมัยให้หลังได้มีกวีดัง ๆ นำไปแต่งภาคต่ออย่างเช่น เป็นบทละคร เป็นเพลง หรือภาพวาด ลอร์ดเทนเนสันได้แต่งต่อในตอนเลดี้ชาร์ล็อต ซึ่งมีเนื้อหาเสริมมาจากดอนน่า ดี สกาล็อตต้า ที่แต่งโดยกวีชาวอิตาเลี่ยนในปี 13 โดยลอร์ด เทนเนสันแต่งเพิ่มตรงประเด็นชีวิตของเลดี้ ชาล็อตผู้ที่ถูกกล่าวถึง
เรื่องราวของอัศวินโต๊ะกลมนั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นชื่อมากที่ประเทศอังกฤษ จนหลายสมัยให้หลังได้มีกวีดัง ๆ นำไปแต่งภาคต่ออย่างเช่น เป็นบทละคร เป็นเพลง หรือภาพวาด ลอร์ดเทนเนสันได้แต่งต่อในตอนเลดี้ชาร์ล็อต ซึ่งมีเนื้อหาเสริมมาจากดอนน่า ดี สกาล็อตต้า ที่แต่งโดยกวีชาวอิตาเลี่ยนในปี 13 โดยลอร์ด เทนเนสันแต่งเพิ่มตรงประเด็นชีวิตของเลดี้ ชาล็อตผู้ที่ถูกกล่าวถึง
เลดี้ ชาล็อตนั้นโดนคำสาปตั้งแต่ยังเด็กว่านางจะต้องนั่งทอผ้าอยู่ในหอคอยในเมืองอวาลอนตลอดเวลาห้ามออกห่างจากเครื่องทอผ้าไปไหนไม่เช่นนั้นจะเกิดภัยพิบัติอันเลวร้าย สิ่งเดียวที่เลดี้ชาล็อตทำได้คือ นางจะมีกระจกอยู่สองบานตั้งอยู่ด้านหน้าเครื่องทอผ้าของนางซึ่งสะท้อนภาพจากหน้าต่างอันเป็นทิวทัศน์เบื้องล่างของอวาลอนที่มีผู้คนสัญจรไปมา
ในตอนที่เทนเนสสันแต่งนั้นจะบรรยายถึงความรู้สึกอันหดหู่เบื่อหน่าย วิตกจริต ของเลดี้ชาล็อตที่ไม่สามมรถออกไปข้างนอกได้ จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งในระหว่างที่กำลังทอผ้าอยู่นั่นเอง นางได้เหลือบไปเห็นอัศวินหนุ่มคนหนึ่งขี่ม้าผ่านมาซึ่งอัศวินคนนี้คือ เซอร์ กาลาฮัด ลูกชายนอกสมรสที่เกิดกับเจ้าหญิงไอลีน เอสโทเล็ต กับ เซอร์ลานเซอล็อท ความงามของอัศวินกาลาฮัด ถึงกับทำให้นางหยุดผงะจากการทอผ้า ลุกขึ้นไปดูเขาให้ถนัดตาจากหน้าต่าง และเมื่อนั้นเองที่คำสาปที่กำหนดเอาไว้ตั้งแต่นางยังเป็นเด็กก็ปรากฏจริงขึ้นมา กระจกทุกบานในหอคอยก็แตกกระจายมาทิ่มนาง เลดี้ชาล็อตจึงต้องกระโดดหนีออกจากหอคอยทางหน้าต่างลงไปสู่แม่น้ำเบื้องล่าง เมื่อนั้นเองที่นางเจอเรือพายเล็ก ๆ ของชาวบ้าน นางจึงขออาศัยกลับไปยังอวาลอน แต่เมื่อพายใกล้ถึงนางทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงตายก่อน
ภูมิหลังที่แท้จริงทางประวัติศาสตร์ของตำนานกษัตริย์อาเธอร์เป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการมาเป็นเวลานานแล้ว แนวคิดหนึ่งซึ่งอ้างอิงตาม ประวัติศาสตร์แห่งบริเตน (Historia Brittonum) และพงศาวดารเวลส์ (Annales Cambriae) เชื่อว่าอาเธอร์เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยเป็นหัวหน้านักรบในยุคบริเตนสมัยหลังโรมัน ซึ่งนำการรบป้องกันการรุกรานของชาวแองโกล-แซ็กซอนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในฮีสทอเรีย บริโทนัม, มีเนื้อความที่บันทึกด้วยภาษาละตินในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ซึ่งเป็นลายมือของนักบวชชาวเวลส์ ได้บันทึกรายละเอียดการรบ 12 ครั้ง ของอาเธอร์เอาไว้
ในจำนวนนี้รวมถึงยุทธการมอนส์บาโดนิคัส หรือการรบที่ภูเขาบาดอน ซึ่งระบุไว้ว่า อาเธอร์ได้ต่อสู้ตามลำพังด้วยมือเปล่า และสังหารศัตรูไปถึง 960 คน อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาวิจัยในยุคหลังได้ตั้งข้อสงสัยต่อความน่าเชื่อถือของบันทึกฮีสทอเรีย บริโทนัม ว่าจะถือเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในยุคนั้นได้หรือไม่
หลายคนเชื่อว่า คาเมล็อตนั้นอยู่ไม่ไกลจากทิงเทเจ้ล เพราะมีตำนานตอนหนึ่งในเรื่องอัศวินโต๊ะกลมที่กล่าวถึงปราสาทของ ลอร์ดคอนวอล ที่มีภรรยารูปงามนามว่า ท่านหญิงอิเกรน ซึ่งโดนอูเธอร์พ่อของกษัตริย์อาเธอร์ จำแลงกายเป็นสามีของนางโดยการช่วยเหลือของราชินีแม่มดเม็พ และเข้าสมสู่กับท่านหญิงอิเกรนจนนางตั้งครรภ์เป็นอาเธอร์ นิยายเรื่องนี้สะท้อนจุดเสื่อมของมนุษย์ในหลายด้าน และค่อนข้างแรงพอสมควร อย่างเช่นการที่ลานเซล็อตนั่นเป็นอัศวินเอกของอาเธอร์แต่ก็โดนแม่มดมอร์แกน ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านดุ๊กแห่งคอนวอลกับเลดี้อิเกรนที่โดนอูเธอร์พ่อของอาเธอร์หลอกไปเป็นเมีย และตอนหลังก็ส่งท่านดุ๊กคอนวอลพ่อของมอร์แกนไปตาย มอร์แกนเติบโตขึ้นมาในสำนักนางชีแต่กลับไปเรียนวิชาแม่มดจากพ่อมดเมอร์ลินเพื่อเอามาแก้แค้นอาเธอร์ น้องต่างบิดาของนาง โดยการใช้ลานเซล็อตกับเลดี้กวินิเวียร์เป็นเครื่องมือ โดยชักใยให้ทั้งคู่คบชู้กัน จนกวินิเวียร์โดนลงโทษให้ถูกเผาไฟ แต่ลานเซล็อตมาช่วยไว้ทัน กับอีกตอนที่แรงก็เช่นตอนที่ลานเซล็อตไปช่วยเจ้าหญิงไอลีน แห่งเอสโทเล็ตจากการโดนต้ม ในขณะที่บิดาของนางกษัตริย์แห่งเอสโทเล็ท เห็นลานเซล็อตรูปงาม ดูเป็นอัศวินที่มีราศี จึงอยากให้ลูกสาวตัวเองได้สมรสกับลานเซล็อต
ชาวเวลล์นั้นเชื่อว่า จอฟฟรี่ มอนเม้าท์ ได้เค้าโครงเรื่องกษัตริย์อาเธอร์มาจาก กษัตริย์ลูกครึ่งโรมัน-เคลท์ พระองค์หนึ่งที่พยายามกอบกู้อังกฤษให้พ้นจากอำนาจของพวงแองโกล-แซกซอน และบ้านของพระองค์ก็คือปราสาททิงเทเจ้ล ที่ตั้งอยู่ริมฝังทะเลทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นเวลล์ โดยพ่อมดเมอร์ลินก็คือ นักบวชพ่อมดดรูอิดของชาวเคลท์นั้นเอง นักโบราณคดีพบช่องถ้ำใต้ปราสาททิงเทเจ้ลที่โดนน้ำกัดเซาะ ซึ่งค่อนข้างตรงกับในเนื้อเรื่องของอาร์เธอร์ ที่บ้านของพ่อมดเมอ์ลินนั้นอยู่ในถ้ำริมทะเลใต้ปราสาทของอาเธอร์ และวิญญาณของพ่อมดเมอร์ลินนั้นก็ยังคงสิงสถิตย์อยู่ที่นั่น...✎