ย้อนรอยอาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในอดีตที่กลายสภาพเป็นเมืองร้าง
เมืองที่เคยสืบทอดโดยราชวงศ์และจักรวรรดิต่างๆ นานนับศตวรรษ ซึ่งเมืองเอนี่ (Ani) ที่ในอดีตถือเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งมหาอำนาจในภูมิภาคที่บัดนี้ได้กลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว
เมืองที่ถูกลืม
ราชอาณาจักรที่เคยถูกสืบทอดโดยกษัตริย์แล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่ราชอาณาจักรไบเซนไทน์จนกระทั่งถึงสมัยอาณาจักรออตโตมันมานานนับหลายศตวรรษ ซึ่งเมืองเอนี่แห่งนี้มีผู้คนอาศัยอยู่หลายพันคน และเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและมหาอำนาจในช่วงการปกครองของราชวงศ์แห่งอาร์เมเนีย
ปัจจุบันเมืองที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตได้กลายเป็นเมืองที่น่าหวดกลัวไปแล้ว ที่ถูกผู้คนทิ้งร้างจนถูกขนานนามว่าเป็นเมืองผี
เมืองเอนี่ดังกล่าวที่ยังคงหลงเหลือไว้ซึ่งซากตึกที่ปรักหักพัง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูงที่อยู่ห่างจากเมืองคาร์สประมาณ 45 กิโลเมตรบริเวณชายแดนของตุรกี
ถ้าคุณเดินลัดเลาะไปตามซากปรักหักพังของเมืองดังกล่าว ที่ได้พังทลายลงในช่วง 90 ปีที่ผ่านมา ท่านจะได้ยินเสียงวาบวูบของสายลมที่ออกมาจากด้านในผู้เสียชีวิตภายใต้ผู้มีอำนาจหลายสมัย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ได้เดินเข้าชมสถานที่ดังกล่าวผ่านกำแพงเมืองเอนี่ อาจได้เที่ยวชมความสุนทรียะที่มีอยู่บนซากตึกที่มีอายุประมาณกว่าสามศตวรรษกับอีกห้าจักรวรรดิผู้ปกครอง รวมทั้งราชวงศ์แห่งอาณาจักรอาร์เมเนีย อาณาจักรบักราติด อาณาจักรไบเซนไทน์ อาณาจักรเติร์ก อาณาจักรจอร์เจีย และอาณาจักรออตโตมัน
ที่ราบสูงของเมืองเอนี่ถูกส่งมอบให้กับรัฐบาลรัสเซียภายหลังจากที่อาณาจักรออตโตมันพ่ายแพ้สงครามในช่วงสงครามรัสเซียกับตุรกีในปี 1877-1878 และหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้น ทางอาณาจักรออตโตมันได้ต่อสู้พยามทวงคืนเมืองดังกล่าวกลับมาสู่ในความครอบครองอีกครั้ง
แต่ถึงแม้ว่าพวกเขา(ออตโตมัน)สามารถที่จะยึดครอบครองเมืองเอนี่และบริเวณโดยรอบได้อย่างสำเร็จ แต่ในที่สุดได้มอบเมืองแห่งนี้ให้กับสาธารณรัฐอาร์เมเนียที่เป็นประเทศเกิดใหม่
เมืองแห่งนี้ถูกเปลี่ยนการปกครองในครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่สาธารณรัฐตุรกีเกิดขึ้นที่ได้ยึดครองตลอดช่วงของการสู้รบในสงครามเพื่ออิสรภาพของตุรกีในปี 1920
พื้นที่ที่ถูกแย่งชิง
ซากปรักหักพังของสะพานข้ามแม่น้ำโบราณอควอเรี่ยน (Akhurian) ที่มีเส้นทางคมนาคมเลียบลงไปด้านล่าง ซึ่งในเวลาเดียวกันเป็นการสร้างพรมแดนทางธรรมชาติ ที่มีความเหมาะสมอย่างมากที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างตุรกีและอาร์เมเนียได้เป็นอย่างดี
ทั้งสองประเทศดังกล่าวมีความขัดแย้งระหว่างกันมาอย่างช้านานเกี่ยวกับเรื่องการฆาตกรรมประชาชนชาวอาร์เมเนียที่เกิดขึ้นในช่วงจักรวรรดิออตโตมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ถึงขั้นที่รัฐบาลตุรกีได้ประกาศปิดพรมแดนกับอาร์เมเนียในปี 1993 เพื่อเป็นการตอบโต้สำหรับความขัดแย้งในเรื่องเขตแดนระหว่างอาร์เมเนียกับพันธมิตรของตุรกีแห่งอาเซอร์ไบจาน
ความพยายามในการฟื้นฟูมรดกทางประวัติศาสตร์
ถึงแม้ว่าความตึงเครียดระหว่างชาติตุรกีกับอาร์เมเนียจะเกิดขึ้นก็ตาม แต่ได้มีความพยายามที่จะหาแนวทางในการฟื้นฟูเมืองแห่งนี้มาโดยตลอดของนักโบราณคดีกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูทำนุบำรุงเมืองแห่งประวัติศาสตร์ดังกล่าว
ความพยายามที่จะรื้อฟื้นเมืองที่ถูกลืมแห่งนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อบรรดาผู้เชี่ยวชาญได้มีการดำเนินการฟื้นฟูอย่างขันแข็งเท่าที่สามารถที่จะกระทำได้
บรรดานักประวัติศาสตร์ได้มีการถกเถียงกันอย่างเป็นเวลาที่ยาวนานเกี่ยวกับความสำคัญของการมีอยู่ของเมืองดังกล่าวในยุคกลางที่ถูกหลงลืม
และผลของความยายามดังกล่าวทำให้ตอนนี้เมืองเอนี่ถูกขึ้นทะเบียนมรดกโลกชั่วคราวของหน่วยงานยูเนสโก ซึ่งถือเป็นผลพวงของความพยายามของนักประวัติศาสตร์ที่มีความสนใจ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อปี 2011 ที่พวกเขาสามารถป้องกันไม่ให้เมืองแห่งนี้เสื่อมสลายไปตามเวลา
เมืองแห่งโบสถ์ 1001 แห่ง
ในสมัยแห่งความรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 11 นักวิชาการคาดการณ์ว่าน่าจะมีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 100,000 คน
ศิลปะการตกแต่งบนฝาผนังบางส่วนที่ค้นพบบนซากปรักหักพังของแหล่งโบราณคดี ได้แสดงให้เห็นว่าเมืองแห่งนี้ ในยุคกลางจะมีบ้านเรือนของประชาชนอาศัยอยู่อย่างแออัดที่มีเป็นจำนวนมาก และศิลปะที่สวยงามและโบสถ์คริสต์ที่สวยสดงดงามที่พบอยู่อย่างกระจายทั่วเมือง
เมืองแห่งนี้จะรู้จักกันดีในฐานะ “เมืองแห่งโบสถ์ 1001 แห่ง” สมัยที่เจ้าผู้ครองเมืองเอนี่เป็นชาวอาร์เมเนีย และบรรดาพ่อค้าส่วนใหญ่ต่างระดมเงินทุนในการก่อสร้างศาสนสถาน และทั้งหมดได้รับการออกแบบในรูปแบบพิเศษทั้งสถาปัตยกรรมและศิลปะ
ถึงแม้ว่าจะมีชื่อเสียงเป็นที่ประทับใจก็ตาม นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานอย่างน้อยจำนวน 40 โบสถ์วิหารที่เป็นสุสานอีกด้วย
ถึงแม้ว่าโดมจะดูทรุดโทรมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 1319 และในศตวรรษต่อๆ มาหลังจากนั้นที่ได้เกิดแผ่นดินไหวอีกหลายครั้งที่ได้ทำลายในส่วนอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งเศษซากความหักพังของโบสถ์ดังกล่าวยังคงดูมีความน่าพิศวงอยู่
มหาวิหารโบสถ์แห่งนี้ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์จำนวน 1001 แห่ง ภายใต้การปกครองของกษัตริย์อาร์เมเนีย (King Gagik) ในสมัยที่เมืองเอนี่อยู่ในช่วงของความเจริญรุ่งเรืองและประชากรอยู่ในช่วงของความเจริญที่สุดขีด
Trdat arsitek คือสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของอาร์เมเนียที่เป็นผู้ออกแบบ สถาปนิกผู้นี้ยังเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้ออกแบบให้กับเมืองไบเซนไทน์ในการช่วยซ่อมแซมบำรุงโดมของฮาเกียโซเฟีย(Hagia Sophia)
อาคารโบสถ์ที่หลงเหลือเพียงบางส่วนมีเพียงโบสถ์คริสต์รีเดเมียร์แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังหลงเหลือแค่บางส่วน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่มีความยิ่งใหญ่และเป็นมรดกทางศิลปะประจำชาติอาร์เมเนียของราชวงศ์ Bagratid แห่งชาติพันธุ์อาร์เมเนีย
ท่ามกลางสภาพที่หดหู่ ว่ากันว่าตอนนี้มีเพียงเสาที่สร้างจากเหล็กเท่านั้นที่ไม่ได้ทรุดลง แต่สำหรับช่วงเวลาดังกล่าวโบสถ์แห่งนี้ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความอลังการยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งอาคารที่มีความงดงามดังกล่าวประกอบไปด้วย 19 ซุ้มประตูและโดม ซึ่งทั้งหมดทำจากหินภูเขาไฟที่เป็นสีแดงปนน้ำตาล
โบสถ์คริสตแห่งนี้สามารถมองเห็นรอยแตกร้าวของไม้กางเขนดั้งเดิม ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระเยซูถูกตรึงกางเขน กล่าวกันว่าผู้ที่รักษาโบสถ์คริสตแห่งนี้คือเจ้าชาย Ablgharib Pahlavid ครั้นที่ได้รับชิ้นส่วนของไม้กางเขนดังกล่าวในระหว่างที่เขาไปเยือนเมืองหลวงศูนย์กลางมหาอำนาจแห่งไบแซนไทน์ เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล
โบสถ์และสุสานของเจ้าชาย
สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นประมาณปลายศตวรรษที่ 10 โบสถ์เซนต์เกรกอรี่ของ Abughamrentsis ที่แลดูสงบ ซึ่งประกอบไปด้วย 12 โดมเหนือหลังคาและโค้งประตูที่ถูกประดับประดาอย่างสวยหรูจริงๆ
ในช่วงต้นศตวรรษ 1900 มีการค้นพบสุสานที่ถูกฝังอยู่ใต้โบสถ์ทางตอนเหนือ
เป็นที่สันนิฐานกันว่าอาจเป็นหลุมฝังศพของผู้ที่รักษาโบสถ์ดังกล่าวหรือเจ้าชาย Grigor Pahlavuni ของราชวงศ์ Bagratid และบรรดาวงศานุวงศ์ ที่ถูกค้นพบจำนวนมากอย่างทั่วไปของเมืองแห่งนี้ และหลุมฝังศพของเจ้าชายดังกล่าวถูกปล้นไปเมื่อปี 1990
ซากเมืองที่อยู่ใต้ดิน
ตรงข้ามกับโบสถ์เซนต์เกรกอรี่ของ Abughamrentsare มีถ้ำบางแห่งที่ถูกขุดสร้างจากหินซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์ได้ประเมินว่าอายุของถ้ำดังกล่าวน่าจะมีความเก่าแก่กว่าเมืองเอนี่อย่างแน่นอน บางครั้งถ้ำดังกล่าวเสมือนว่าเป็น “เมืองใต้ดิน”
เป็นที่คาดว่าถ้ำดังกล่าวอาจถูกนำมาใช้เป็นสุสานและโบสถ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งบางส่วนของถ้ำยังคงใช้เป็นที่อยู่อาศัย
โบสถ์แห่งความว้าเหว่
โบสถ์ St Gregory of Tigran Honents ยังคงยืนอยู่อย่างตระหง่านบนพื้นดินที่แยกกันระหว่างตุรกีและอาร์เมเนีย ที่ลงทุนสร้างโดยพ่อค้าผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง โบสถ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1215 เมื่อช่วงที่ราชอาณาจักรจอร์เจียสามารถควบคุมเมืองเอนี่ได้อย่างสำเร็จ ซึ่งผู้ปกครองเมืองแห่งนี้ได้รับความไว้วางใจจากบรรดาลูกหลานของราชวงศ์อาร์เมเนีย ตลอดจนครอบครัวของซาการียาเพื่อบริหารเมืองเอนี่แห่งนี้
ในช่วงฤดูหนาวโบสถ์ดังกล่าวสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัดเหนือผืนหญ้าอาร์เมเนียที่เห็นได้ชัดถึงบรรยากาศแห่งความหว้าเหว่
จิตรกรรมบนฝาผนังที่มีความประณีต
โบสถ์ St Gregory of Tigran Honents ถือเป็นหนึ่งในอาคารที่มีความโดดเด่นมากที่สุดในบรรดาโบสถ์ที่มีอยู่ในเมืองเอนี่ ที่มีการตกแต่งด้วยภาพวาดเกี่ยววิถีชีวิตของนักบวชคริสต์
ชุดภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังที่มีความประณีตที่สามารถดูได้ในศิลปะของยุคอาร์เมเนีย ดังนั้นนักวิเคราะห์จึงเชื่อว่าบรรดานักจิตกรรมต้องเป็นศิลปินชาวจอร์เจียอย่างแน่นอน
หอคอยมัสยิดยังคงยืนเด่น
จักรวรรดิเซลยุก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอนาโตเลีย ที่สามารถขับไล่ผู้ปกครองแห่งไบเซนไทน์ได้อย่างสำเร็จ และท้ายที่สุดได้ปูทางให้กับจักรวรรดิออตโตมันได้เข้ามาควบคุมพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลในช่วงต้นยุคกลางประมาณปี 1000 หากดูตามแผนที่ปัจจุบันจะเห็นว่าจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกีและอาร์เมเนีย
อย่างไรก็ตามในปี 1072 ทางจักรวรรดิเซลยุกได้มีการส่งมอบเมืองแห่งนี้ให้กับราชวงศ์ของอาณาจักรอิสลามแห่งกลุ่มเคร์ดิ นั่นก็คือตระกูลชาดาดีด
ในช่วงที่อยู่ภายใต้ของราชวงศ์ชาดาดีด พวกเขาได้ทิ้งร่องรอยไว้กับเมืองแหงนี้อย่างมากมาย ด้วยการก่อสร้างสถานที่ต่างๆ อย่างมัสยิด Manuchihr ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนหน้าผาหอคอยยังคงยืนอยู่อย่างโดดเด่นนับตั้งแต่ที่มีการสร้างมัสยิดขึ้นในช่วงปลายปี 1000 ส่วนที่เหลือของมัสยิดดังกล่าวที่ดูเหมือนว่าจะเป็นอาคารที่ถูกต่อเติมขึ้นมาในศตวรรษที่ 12 หรือ 13
ความเป็นของหอคอยยังคงเป็นที่ถกเถียง
ความดั้งเดิมของมัสยิด Manuchihr ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันของชาวตุรกีและอาร์เมเนีย บ้างก็อ้างว่าอาคารดังกล่าวกาลครั้งหนึ่งถูกใช้เป็นพระราชวังของราชวงศ์ Bagratid และมาในช่วงยุคหลังนี้เองที่ถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิด
ส่วนความคิดเห็นอื่นๆ ต่างออกมาปฏิเสธเหตุผลดังกล่าว ด้วยเหตุผลของโครงสร้างที่ถูกสร้างเป็นมัสยิดจากล่างขึ้นไป และถือเป็นมัสยิดตุรกีหลังแรกในอนาโตเลีย
จากปี 1906-1918 มัสยิดดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นสถานที่พิพิธภัณฑ์สำหรับเก็บวัตถุที่ถูกขุดพบในเมืองเอนี่ โดยนักโบราณคดีชาวรัสเซีย นิโคลัส มาร์ (Nicholas Marr)
กำแพงเมืองที่เป็นสักขีพยาน
แม้กำแพงของเมืองเอนี่ตอนนี้อยู่ในสภาพที่จวนจะพัง แต่ในช่วงที่ถูกสร้างขึ้นมาในศตวรรษที่ 10 กำแพงดังกล่าวถูกสร้างขึ้นสำหรับการป้องกันที่มีความแข็งแกร่ง
ราชวงศ์แบกราทิด สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการปกป้องเมืองใหม่ของพวกเขา นานนับศตวรรษที่อาคารดังกล่าวสามารถป้องกันประชากรจากการบุกโจมตีปิดล้อมโดยจากกองกำลังต่างๆ
การปรากฏตัวของปราสาทแห่งนี้พร้อมๆ กับการปรากฏของชาวเมืองแห่งนี้ จะเห็นได้จากหลักฐานเหตุนองเลือดระหว่างราชวงศ์แบกราทิด และไบเซนไทน์ และระหว่างไบเซนไทน์และมหาจักรวรรดิเซลจุค
ถึงแม้ว่าเมืองเอนี่จะมีประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยไฟแห่งสงคราม ซึ่งเศษซากปรักหักพังเหล่านี้เสมือนเป็นตัวแทนของช่วงเวลาสำหรับประวัติศาสตร์ ที่เมืองแห่งนี้ได้เป็นสักขีพยานของการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ศาสนา และศิลปะลวดลายที่มีความโดดเด่น