ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร เป็น มุสลิม
ถ้ากล่าวของท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกษัตรี) และท่านผู้หญิงมุก(ท้าวศรีสุนทร) น้อยคนในประเทศไทยที่จะไม่รู้จักวีรสตรีผู้หาญกล้าทั้งสอง ที่มีวีรกรรมไม่ด้อยไปกว่า ชาวบางระจัน จ.สิงบุรี และ ชาวชะไว อ.ไชโย จ.อ่างทอง
เนื่องจากในปี พ.ศ.2328 พม่าได้ยกทัพเข้ามาในเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจัน และท่านผู้หญิงมุก เป็นรวมรวบไพร่พลที่อยู่ในเมืองถลาง ประมาณ 1,000 กว่าคน เข้าต้านทัพพม่าที่ท่าเรือ ในสมัยสงคราม 9 ทัพ โดยกองทัพพม่า ได้ยกทัพบุกเมืองถลางทางเรือ
ท่านผู้หญิงจันได้สั่งให้ชาวบ้านเมืองถลางปิดกั้นทางน้ำของคลองบางใหญ่เพื่อมิให้พม่าได้ใช้น้ำที่สะอาด อีกทั้งได้ใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับทัพพม่าอย่างเฉลียวฉลาดเยี่ยงชายชาตรี
ในขณะที่เธอได้นำทัพนั้นท่านผู้หญิงได้มีความรับผิดชอบและมีจิตใจกล้าหาญต่อสู้โดดเดียวจนเป็นที่ยกย่องของเหล่าไพร่พลและชาวเมือง
ด้วยเพราะในขณะที่ทัพพม่าได้เข้ามาประชิดกำแพงเมืองนั้น สามีของท่านผู้หญิง คือพระยาถลางได้เสียชีวิตลง ยี่หวุ่นแม่ทัพชาวพม่าก็ได้ยกทัพกลับกรุงหงสาวดี การต่อสู้ครั้งนั้นทัพพม่าได้สูญเสียไพร่พลประมาณ 300 นาย
ซึ่งในปี พ.ศ. 2310 พม่ายึดอยุธยาได้ การปกครองของอยุธยาเสียหายหนัก หลังจากเสร็จศึกครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.1)ได้ทรงทราบข่าวเกี่ยวกับวีรกรรมของท่านผู้หญิงทั้งสอง
จึงโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ท่านทั้งสอง ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น “ท้าวเทพกษัตรี” และให้ท่านผู้หญิงมุกเป็น “ท้าวศรีสุนทร” ดังปรากฏในหนังสือสงคราม 9 ทัพตามเอกสารที่พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ และ ผศ.วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ ได้รวบรวมไว้ และหนังสือโครงการจัดทำคู่มือและรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองถลาง(บ้านเคียน)
ท่านผู้หญิงจันเป็นบุตรของพระยาสุรินทรา มารดาชื่อนางหม่าเซี๊ยะ แต่ความจริงเธอ นางหม่าเซี๊ยะ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า ม๊ะ เซี๊ยะ ซึ่งชื่อจริงของเธอคือ “ซัมเซี๊ยะ” เป็นบุตรีเจ้าเมืองไทยบุรี หรือรัฐเคดาห์
ที่ต่อมาภายหลังนักวิชาการได้ค้นพบว่า ทั้งสองนั้นมีเชื้อสายมลายูมุสลิม และจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนั้นนักวิชาการพบว่า...
ทัพเคดาห์(kedah)หรือเมืองไทยบุรีได้เข้ามาส่งเสบียงและส่งทหารบางส่วนเพื่อช่วยเมืองถลาง ในขณะที่เมืองถลางกำลังขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ในขณะที่กำลังสาระวนรบกับพม่า
ทัพเคดาห์(kedah)หรือเมืองไทยบุรีได้เข้ามาส่งเสบียงและส่งทหารบางส่วนเพื่อช่วยเมืองถลาง ในขณะที่เมืองถลางกำลังขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ในขณะที่กำลังสาระวนรบกับพม่า
เพียงแต่ประวัติศาสตร์ชาติสยามไม่ได้บันทึกหรือจารึกใดๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรื่องนี้ ที่ว่าท่านทั้งสองมีเชื้อสายมุสลิม ตลอดจนมีสายสัมพันธ์อันดี เป็นหลานของสุลต่านอมัตตายุดดีนฮัมซะห์ แห่งนครรัฐเคดาห์(kedah) หรือไทยบุรีซึ่งเมืองแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเมืองขึ้นของสยาม ตกอยู่ในการยึดครองของสยามในนามของประเทศราช เพียงแต่สยามต้องส่งมอบคืนดินแดนแห่งนี้ คืนให้กับอังกฤษในปี พ.ศ. 2422 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5
นักวิชาการจากประเทศมาเลเซียได้ยืนยันพร้อมเอกสารภาษาอังกฤษ ภาษามลายูว่า นางม๊ะเซี๊ยะห์ มีชื่อจริงว่า ซัมเซี๊ยะห์ เป็นลูกสาวของสุลต่านอะหมัดตายุดดีนฮัมซะห์ อับดุลฮาหลัมชาห์ ที่ 2 แต่งงานกับพระยาสุรินทราชา พระยาถลาง มีลูกสาวชื่อ ท่านหญิงจัน มีชื่อมลายูหรือาหรับว่า ซัม ซัม และท่านหญิงมุก มีน้องชาย 1 คน ชื่อ อาด (สะอัด)
กุโบร์หรือสุสานของแม่หม่าเสี้ย หรือ ม๊ะซัมเซี๊ยห์ ตั้งอยู่ที่บ้านเหรียง ม. 3 ในเขตเทศบาลตำบลเทพกษัตรีย์ และยังมีหลุมฝังศพอีก 2- 3 คนที่ยังไม่ทราบรายชื่อมีไม้ปีซังของม๊ะซัมเซี๊ยะ ซึ่งปัจจุบันทงม.ราชภัฏภูเก็ต ได้นำไปศึกษาและเก็บรักษาไว้
ชาวเคดาห์ (KEDAH) มีความภูมิใจในความกล้าหาญของท่านหญิงจันและท่านหญิงมุกเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งยกย่องว่าเป็นวีรสตรีของเคดาห์ พวกเขาเพราะถือว่าเธอเป็นชาวเคดาห์ด้วย
เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันดีของสยามและรัฐเคดะห์นั้นมีมาช้านานแล้ว นับตั้งปลายอยุธยาและสมัย ร. 5 ได้ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้กับสุลต่านเคดาห์ ซึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าวก็ยังถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์เมืองเคดาห์ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่าง 2 ราชวงศ์ในอดีต
เพียงแต่ในบางช่วงของประวัติศาสตร์อาจมีร่องรอยของความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะในรัชสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัย ร.2 และ ร.3 ที่กองทัพสยามได้ส่งกำลังไปตีรัฐเคดะห์ถึง 3 ครั้งคือในปี ค.ศ.1821 ปี ค.ศ.1828 และค.ศ.1831 ซึ่งสยามได้เคยกวาดต้อนชาวเคดาห์มาไว้ที่ จ.นครศรีธรรมราชจำนวน 1,000 คน และกวาดต้อนมาอยู่ที่กรุงเทพฯ แถวมีนบุรี และชุมชนสมอเอก ต.ดอนฉิมพลี อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทราเรา
ที่รัฐเคดาห์ยังมีป้อมกำแพงชายฝั่งทะเลที่สยามส่งทหาร ไปตีรัฐเคดะห์ ซึ่งเป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ยังจารึกไว้ในพิพิธภัณฑ์ของรัฐเคดะห์
สำหรับการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทรนั้น เป็นไปตามพระราชดำริของ ร.6 ที่เสด็จเยี่ยมเมืองถลาง จ.ภูเก็ต สมควรสร้างเพื่อจารึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญของบุคคลทั้งสอง แต่การสร้างนั้นมาริเริ่มในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งสร้างขึ้นในยุคชาตินิยม หลังจากเหตุการณ์สงครามถลางถึง 181 ปี
ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของอดีต แต่คนในปัจจุบันสมควรรู้ที่มาและข้อเท็จจริงเพื่อเดินก้าวร่วมกันต่อต่อไปอย่างเข้าใจและให้เกียรติแก่กันและกัน และยังมีประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับมุสลิม เช่น นักรบมุสลิมชะไวซึ่งเป็นต้นแบบวิชากระบี่กระบองของไทย เรื่องพระยาจักรี(หมุด)ขุนศึกผู้ร่วมกู้ชาติร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี , กองอาสาจาม นักรบมุสลิมสยาม ตลอดจนออกยาบวรราชยก ปฐมจุฬาราชมนตรี ที่เป็นขุนนางมุสลิมเคียงมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าทรงธรรมและพระเจ้าปราสาททอง มุสลิมไม่ได้อาศัยอยู่ในสยามประเทศเยี่ยงผู้อาศัยทั่วไป มุสลิมในแผ่นดินนี้ก็เป็นพลเมืองหรือประชาชาติที่ร่วมกันสร้างบ้านสร้างเมืองและร่วมกู้บ้านกู้เมืองเคียงคู่กับบรรพกษัตริย์สยามมาทุกพระองค์ สมควรที่เราชาวไทยจะต้องมาร่วมเรียนรู้ร่วมกันเพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้าร่วมกันสร้างชาติเหมือนกับบรรพชนของเราที่ได้เคยเคียงข้างสร้างชาติร่วมกันมา.
บทความ/ทรรศนะ โดย.อาจารย์นิติ ฮาซัน
กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิเพื่อศูนยืกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มูลนิธิเพื่อศูนยืกลางอิสลามแห่งประเทศไทย