ขุดรถไฟฟ้าพบประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสมัยรัชกาลที่ 4–5
วังบูรพา, สนามไชย 2 สถานีใต้ดินใหม่ ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง–บางแค ซึ่งแนวสายทางบางช่วงตัดผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ มีรายงานระบุว่า มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก อายุราวสมัยรัชกาลที่ 4–5
วังบูรพา, สนามไชย 2 สถานีใต้ดินใหม่ ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง–บางแค ซึ่งแนวสายทางบางช่วงตัดผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ มีรายงานระบุว่า มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก อายุราวสมัยรัชกาลที่ 4–5
บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ผู้รับเหมาก่อสร้างสัญญาที่ 1 ช่วงหัวลำโพง-สนามไชย ชี้แจงว่า เนื่องจากแนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าช่วงดังกล่าว บางช่วงตัดผ่านเกาะรัตนโกสินทร์เขตอนุรักษ์ ซึ่งตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม กำหนดว่า ก่อนลงมือก่อสร้าง จะต้องมีการขุดสำรวจหาโบราณวัตถุใต้ดิน เพื่อป้องกันไม่ให้การก่อสร้างไปกระทบ หรือทำความเสียหาย
ทั้งนี้ ในการขุดสำรวจจะมีเจ้าหน้าที่โบราณคดี กรมศิลปากร เป็นผู้กำหนดวิธีและขั้นตอนการขุดสำรวจทั้งหมด
เริ่มจากแบ่งพื้นที่เป็นบล็อกๆ คล้ายบ่อเล็กๆ กว้าง✕ยาว ประมาณเมตร✕ เมตร ขุดลึกลงไปประมาณ 1.50 เมตร ถ้าบล็อกไหนขุดพบก็จะขยายพื้นที่ขุดออกไปอีก ถ้าไม่พบก็จะกลบดินเหมือนเดิม ชิ้นส่วนที่ขุดพบ เจ้าหน้าที่โบราณคดีจะนำไปเก็บรักษาเพื่อรอการวิเคราะห์ที่มาที่ไป
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างในส่วนที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ รับผิดชอบ บนถนนเจริญกรุงนั้น ขณะนี้มีการขุดสำรวจไปแล้วที่ สถานีวังบูรพา ซึ่งจากการขุดสำรวจพบเศษไม้ สำหรับทำหมอนรถรางสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากแนวเส้นทางดังกล่าว เคยมีรถรางสายหลักเมือง–ถนนตก วิ่งให้บริการ แต่สภาพของไม้หมอนผุพังหมดแล้ว ส่วนตัวรางเหล็ก ไม่พบแต่อย่างใด
สำหรับ สถานีวัดมังกร ซึ่งจะเริ่มขุดเจาะสำรวจเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าจะขุดพบ “คลองราก” หรือฐานรากโครงสร้างของบ้านเรือนสมัยรัชกาลที่ 5 –รัชกาลที่ 6 เนื่องจากเป็นชุมชนเก่าและเป็นชุมชนแรกๆที่มีการพัฒนาการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนแบบสมัยใหม่เลียนแบบชาติตะวันตก
เหรียญโลหะสมัยรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 5 เช่น เหรียญโลหะวงกลม มีตราจักร มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะวงกลม พิมพ์อักษรสยามรัฐ มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะ มีตรามหามงกุฎ อีกด้านพิมพ์ลายจักรภายในมีช้าง เป็นต้น
และขุดพบ “คลองราก” หรือฐานรากโครงสร้างพระราชวังโบราณ ทำให้เราทราบถึงวิธีและขั้นตอนการก่อสร้างพระราชวังโบราณว่ามีโครงสร้างอย่างไร ใช้ขนาดอิฐเท่าไหร่ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติความเป็นมาทั้งในด้านการออกแบบก่อสร้าง
ประวัติสถาปัตยกรรม เครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี
สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบทั้งหมด ขณะนี้ กรมศิลปากรจะได้เก็บรวบรวมไว้ที่มิวเซียมสยาม แต่ยังไม่ได้นำออกแสดง เนื่องจากอยู่ระหว่างรอทำการตรวจสอบสืบค้นหาประวัติความเป็นมาให้ชัดเจน ก่อนนำออกแสดงให้ประชาชนได้ชมกันต่อไป.