ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ในยุคโบราณเมื่อ โลกขับเคลื่อนด้วยเกลือ


โลกขับเคลื่อนด้วยเกลือ
ขวดเกลือและขวดพริกไทยวางประจำโต๊ะอาหารแบบฝรั่งมีให้เห็นจนชินตา และทำให้เผลอคิดไปได้ว่าเมื่อก่อนเกลือคงมีมากมายและถูกใช้อย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วก็เป็นได้ ที่จริงแล้ว ในอดีตเกลือเป็นของมีค่าราคาแพงและไม่ใช่สิ่งที่จะหามาได้ง่ายๆ จนกระทั่งเมื่อศตวรรษที่ 20 นี่เอง

พ่อค้ากรีกโบราณจ่ายค่าแรงทาสด้วยเกลือ ส่วนทาสที่เกียจคร้านและไม่เชื่อฟังคำสั่งก็จะถูกเปรียบเทียบว่า “ทำตัวไม่สมค่าเกลือ” 
(อันนี้แปลตรงๆ จากคำว่า Not worth his salt. ซึ่งในภาษาอังกฤษสำนวนว่า worth one’s salt นั้นหมายถึง ปฏิบัติหน้าที่ได้ดีหรือเต็มความสามารถ --แสดงว่าคำเปรียบเช่นนี้ยังตกทอดมาจนปัจจุบัน)

ส่วนคำว่า “เงินเดือน” หรือ salary ในภาษาอังกฤษนั้นก็มีประวัติย้อนกลับไปถึงสมัยโรมันที่ทหารหาญได้รับเบี้ยเลี้ยงซึ่งเรียกว่า “ซาลารีอุม อาร์เกนตุม” (salrium argentum) ซึ่งแปลตรงๆ ว่า “เงินเกลือ” คือสามารถนำเบี้ยเลี้ยงนั้นไปซื้อเกลือได้ หรือที่บางคนตีความว่าเป็นการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเป็นเกลือ
ส่วนได้ยินบ่อยๆ คือคำว่า สวัสดิภาพหรือความอยู่ดีมีสุข ในภาษาละตินคือคำว่า ซาลูส (salus) และคำว่า สุขภาพ ก็คือคำว่า ซาลูบรีตาส (salubritas) ซึ่งทั้งหมดมาจากรากศัพท์ ซาล (sal) ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า “เกลือ”

นอกจากนี้ในประเทศมาลีทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ค่าของเกลือเคยถูกเทียบกับน้ำหนักของทองคำด้วยซ้ำ

ด้านตำนานของจีนก็กล่าวว่าเมื่อ 2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิอวี๋มีพระบรมราชโองการให้เก็บภาษีเกลือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก

หรือการล่มสลายของอาณานิคมอังกฤษในอินเดียก็เกิดจาก “เกลือหิงสา” ของมหาตมะ คานธี ที่เดินเท้าประท้วงกฎหมายผูกขาดการค้าเกลือที่เริ่มต้นจากกลุ่มคนเพียง 70 กว่าคนจนกลายเป็นแถวยาวหลายกิโลเมตรตลอดเส้นทาง 390 กิโลเมตรจากบ้านเกิดของเขามายังหมู่บ้านชายทะเลชื่อ “ดันดิ” แล้วรวมตัวกันทำเกลือจากน้ำทะเลที่นั่น จนเกิดกระแสต่อต้านเจ้าอาณานิคมแบบอหิงสาขึ้นทั่วประเทศ

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ยังไม่นับเกลือที่ไปเกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองในอีกหลายยุคหลายสมัยที่เล่าตรงนี้คงอ่านกันไม่หวาดไม่ไหวแน่ ไว้คราวน่าจะเล่าให้ฟังใหม่คิดๆ ก็ทำให้นึกถึงเวลาเราได้รับเกียรติบัตรก็มักจะมีข้อความทำนองว่า “จงรักษาความดีดุจเกลือรักษาความเค็ม”

รายการบล็อกของฉัน