ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ในทุก ๆ 27.5 ล้านปี โลกจะเกิดภัยพิบัติหายนะ 1 ครั้งมนุษย์มีเวลาใช้ชีวิตอีก 20 ล้านปี


ในทุก ๆ 27.5 ล้านปี โลกจะเกิดภัยพิบัติหายนะ 1 ครั้งมนุษย์มีเวลาใช้ชีวิตอีก 20 ล้านปีอาจจะย่นระยะลงมาเหลืออีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ก็ได้นะครับ

เพราะตอนนี้สภาพแวดล้อมสภาพอากาศเสื่อมถอยลง ภาวะโลกร้อน น้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นเร่งทำลายล้างให้เกิดความหายนะแก่โลกรวดเร็วยิ่งขึ้น



รวมทั้งสัตว์ต่างๆเริ่มสูญพันธุ์และมนุษย์ก็จะเริ่มลดน้อยลงอีกไม่นานโลกนี้ก็จะสูญสลายเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดคิด

ในทุก ๆ 27.5 ล้านปี โลกจะเกิดภัยพิบัติหายนะ 1 ครั้ง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร แต่ตอนนี้สบายใจได้ รายงานระบุว่าหายนะครั้งล่าสุดเกิดเมื่อราว 7 ล้านปีที่แล้ว ดังนั้นยังมีเวลาให้เราใช้ชีวิตอีก 20 ล้านปี

ในช่วง 260 ล้านปีที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์มากมายไม่ว่าจะเป็น โลกได้ให้กำเนิดไดโนเสาร์แต่ก็จากไปอย่างไม่ทันตั้งตัว มหาทวีปแพนเจียได้แยกออกเป็นแผ่นทวีปและเกาะต่าง ๆ รวมถึงการก้าวขึ้นมาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบัน มันอาจดูเหมือนเป็นเหตุการณ์แบบสุ่ม แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนไม่เชื่อเช่นนั้น


ในงานวิจัยเมื่อปี 2021 ที่เผยแพร่ในวารสาร Geoscience Frontiers ระบุว่าโลกมี ‘ชีพจร’ ที่เต้นเป็นจังหวะทุก ๆ 27.5 ล้านปี และเมื่อมันเต้นครั้งหนึ่ง เหตุการณ์ทางธรณีวิทยาสำคัญ ๆ ก็จะเกิดขึ้นบนโลก แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมจึงมีสิ่งนี้

“นักธรณีวิทยาหลายคนเชื่อว่าเหตุการณ์ทางธรณีวิทยานั้นเกิดขึ้นแบบสุ่มเมื่อเวลาผ่านไป แต่การศึกษาของเราให้หลักฐานทางสถิติสำหรับวัฏจักรทั่วไป โดยเสนอว่าเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันและไม่ใช่เรื่องสุ่ม” Michael Rampino จากภาควิชาชีววิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กกล่าว

พวกเขาได้วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 260 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเหตุการณ์ใหญ่ ๆ อยู่ราว 89 เหตุการณ์ได้แก่ ความผันผวนของระดับน้ำทะเล 29 ครั้ง, สัตว์ทะเลสูญพันธุ์ 12 ครั้ง, สัตว์บกสูญพันธุ์ 9 ครั้ง, ออกซิเจนในมหาสมุทรต่ำ 10 ครั้ง, ภูเขาไฟขนาดมหึมาระเบิด 13 ครั้ง

พื้นที่ชายฝั่งเปลี่ยนแปลง 8 ครั้ง และแผ่นเปลือกโลกไหวรุนแรง 8 ครั้ง ข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นชัดเจนในชั้นหินทางธรณีวิทยา เมื่อทีมวิจัยรวมมันเข้าด้วยกันและทำการวิเคราะห์ทางสถิติ พวกเขาพบว่าโลกจะเกิดกิจกรรมทางธรณีวิทยาทุก ๆ 27.5 ล้านปี และเมื่อผ่านไป เหตุการณ์ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว


ทั้งหมดก่อให้เกิดหายนะที่ทำให้สิ่งมีชีวตสูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมาก ราวกับว่าโลกวางแผนทำความสะอาดทุก ๆ 27.5 ล้านปีอยู่เป็นประจำ พวกเขาไม่แน่ใจว่าเพราะอะไรแต่ก็เสนอความเป็นไปได้ 2 ประการ 1. เหตุการณ์หนึ่งอาจเป็นสาเหตุของอีกเหตุการณ์หนึ่งในอนาคตโดยตรง 

หรือ 2. อาจเกี่ยวข้องกับการโคจรของโลกในระบบสุริยะ ซึ่งทั้งคู่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบที่แน่ใจ แต่ทีมวิจัยกล่าวว่า ไม่ว่ายังไง โลกก็แสดงให้เห็นทางธรณีวิทยาว่ามีหายนะเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ 


"ชีพจรวัฏจักรของการแปรสัณฐานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นผลมาจากกระบวนการทางธรณีฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับพลวัตของแผ่นเปลือกโลก หรืออาจเกิดขึ้นอีกทางหนึ่งด้วยวัฏจักรทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโลกในระบบสุริยะและกาแล็กซี" รายงานระบุ

แต่ไม่มีอะไรให้ต้องตื่นตระหนักสำหรับเราในปัจจุบัน เนื่องจากรายงานระบุว่ากลุ่มเหตุการณ์ภัยพิบัติล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นไปเมื่อ 7 ล้านปีที่แล้ว ดังนั้นมันจะเกิดขึ้นอีกครั้งตามธรรมชาติในอีกราว 20 ล้านปี (ถ้ามนุษย์รอดจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไปได้นะ)

รายการบล็อกของฉัน