คณะนักวิจัยตื่นเต้น หลังค้นพบซากแมมมอธที่ไซบีเรีย เนื่องจากเนื้อเยื่อยังแดงสด แถมมีหยดเลือดไหลออกมาด้วย จุดประกายความหวังในการโคลนนิ่งคืนชีพสัตว์ดึกดำบรรพ์...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 31 พ.ค. ว่า มีการค้นพบซาก "แมมมอธ" สัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดมหึมา อายุราว 10,000 ปี บริเวณหมู่เกาะโนโวสิบีร์สก์ นอกชายฝั่งทางตอนเหนือของไซบีเรีย และเป็นที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง เนื่องจากคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยาคุตสก์ พบหยดเลือดไหลออกมาจากช่วงท้องขณะเจาะน้ำแข็งออกจากซากแมมมอธด้วย จุดประกายความหวังในการโคลนนิ่งคืนชีพให้สัตว์ใหญ่ดังกล่าว
เมื่อปี 2005 ด้วยด้านนายเซมยอน กรีกอเรียฟ ประธานกรรมการแห่งพิพิธภัณแมมมอธ และหัวหน้าคณะสำรวจ เปิดเผยว่า เศษเนื้อเยื้อของแมมมอธตัวที่พบนั้น ยังมีสีแดงเหมือนเนื้อสด เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะช่วงล่างของลำตัว ถูกฝังอยู่ในน้ำแข็งบริสุทธิ์ แต่ลำตัวช่วงบนนั้นค่อนข้างเสื่อมไปตามกาลเวลา
โดยในช่วงเวลาที่ค้นพบแมมมอธ อุณหภูมิต่ำ -10 องศาเซลเซียส และการเจาะน้ำแข็งไปเจอเนื้อเยื่อพร้อมหยดเลือด สร้างความตื่นเต้นระคนประหลาดใจให้ทีมสำรวจยิ่งนัก แต่เลือดค่อนข้างมีสีเข้ม อย่างไรก็ดี จะมีการนำประเด็นดังกล่าวหารือกันต่อไป.