ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อัศวินชุดเกราะเขา อึ๊หรืออุจระ ปัสวะกันยังไงนะ


อัศวินชุดเกราะ "อึ๊" กันยังไงนะ
“ชุดเกราะเป็นเครื่องกันภัยในสมรภูมิอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เมื่ออยู่ในห้องสุขา เจ้าชุดที่ว่านี้กลับกลายเป็นหายนภัยได้ทุกเมื่อ”

ในสมัยพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (Wiliam the Conqueror) และนักรบของพระองค์ยกพลเข้าสู่เกาะอังกฤษใน ค.ศ.1066 ต่างก็สวมเพียงเกราะอ่อนแบบเต็มตัว ทำให้การทำธุระส่วนตัวเป็นเรื่องไม่ยุ่งยากนัก

แต่สถานการณ์เปลี่ยนไป เมื่อช่างฝีมือชาวอิตาเลียนและชาวเยอรมันพัฒนาชุดเกราะแผ่นเต็มขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งสามารถคุ้มกันภัยในสมรภูมิได้ แต่กลับเป็นมหันตภัยในห้องสุขา การที่อุจระ ปัสสวะ ลำบาก ลำบนมากๆๆ

ชุดเกราะไม่มีแผ่นโลหะปิดบริเวณหว่างขาหรือสะโพกของอัศวิน เพราะจะทำให้การขี่ม้ายากลำบาก แต่การป้องกันบริเวณดังกล่าวได้ออกแบบชาย (skirt) คลุมส่วนหน้าของสะโพกที่เรียกว่า faulds ไว้ และส่วนบั้นท้าย เรียกว่า culet ใต้ลงไปมีเกราะอ่อนแบบครึ่งตัวเพื่อป้องกันศัตรูใช้ของมีคมทิ่มแทงเข้าไปที่หว่างขา นอกจากนี้อัศวินยังสวมสนับแข้ง (legging) ที่ทำจากผ้าฝ้ายบุสองชั้นเพื่อป้องกันขาถลอกเอาไว้ใต้เกราะอ่อนนั้นด้วย และเพื่อป้องกันชิ้นเกราะเหล็กที่ขาเลื่อนลงไปทำให้ข้อเท้าบาดเจ็บ จึงต้องใช้สายรัดเอวพยุงไว้หรือไม่ก็ยึดไว้กับเกราะส่วนลำตัว

ถ้าจินตนากาตามที่บรรยายมาตลอด ก็คงเห็นภาพชัดว่าอัศวินไม่มีสิทธิ์เข้าห้องน้ำได้แน่ๆ หากยังสวมชุดเกราะอยู่ จึงจำเป็นต้องมีคนรับใช้ (squire) เพื่อช่วยยกหรือถอดชิ้นส่วน culet ด้านหลังออก ให้ผู้เป็นนายนั่งยองๆ ได้

ทว่าในความเป็นจริง เกราะส่วนขามักผูกติดอยู่กับสายรัดเอวอย่างแน่นหนา ทั้งยังสวมทับอยู่บนสนับแข้งที่ต้องถอดออกก่อนที่บุรุษชาติอาชาไนยจะถอดกางเกงออกได้อย่างโล่งใจ
เอาเป็นว่าโกลาหลขนาดหนักแน่ๆ ถ้าอัศวินผู้นั้นท้องเสียขี้แตก เยี่ยวราดหรือเป็นโรคบิดขึ้นมากลางสนามรบทรมารทรกรรมสิ้นดี

รายการบล็อกของฉัน